Page 52 - kpiebook63006
P. 52
52 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ข้อดีของระบบนี้
1. ความง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าใจได้ไม่ยากสำาหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
2. ความสะดวก รวดเร็วในการคิดคะแนนเพื่อหาผู้ชนะเลือกตั้ง
ข้อเสียของระบบนี้
1. ปัญหาความเป็นตัวแทนของผู้ชนะเลือกตั้งไม่ได้สัดส่วนกับจำานวนคะแนนเสียงที่ได้รับ หรือ
ผู้ชนะเลือกตั้งไม่ใช่ตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้ง เนื่องจากไม่ได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง
2. ผลกระทบต่อความเข้มแข็งหรือความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง อันเนื่องมาจากอาจ
เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้สมัครพรรคเดียวกันจากการแข่งขันกันเองเพื่อให้ชนะเลือกตั้ง
3. ระบบการเลือกตั้งของไทยตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช
2560: ระบบจัดสรรปันส่วนผสม
การเลือกตั้งของไทยก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ส่วนใหญ่มักใช้ระบบเสียงข้างมาก
ธรรมดา แต่มีตัวแทนมากกว่า 1 คน ทำาให้แต่ละเขตมีตัวแทนไม่เท่ากันนำาไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ว่า
ไม่เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย ว่าแต่ละคนต้องมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังนำาไปสู่
การฮั้วกันระหว่างผู้สมัครต่างพรรค นำาไปสู่ความอ่อนแอของพรรคการเมือง เมื่อเกิดกระแสผลักดันให้เกิด
การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จึงนำาไปสู่การจัดทำารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยในด้าน
ระบบเลือกตั้งได้เปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบคู่ขนานระหว่างเขตและสัดส่วน โดยในระบบเขตกำาหนดให้
แต่ละเขตมีตัวแทนเพียงเขตละ 1 คน การตัดสินผู้ชนะใช้ระบบผู้ได้คะแนนสูงสุดชนะเลือกตั้งหรือ FPTP
กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง กำาหนดให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบแยกออก
จากกัน และการคิดคะแนนหาผู้ชนะเลือกตั้งก็แยกออกจากกันด้วย
หลังการรัฐประหารปี 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดให้มีการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 นี้
ในระบบเลือกตั้งได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member
apportionment: MMA) โดยกำาหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวน 500 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งเขตละ 1 คน จำานวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 150 คน ซึ่งความแตกต่าง
ที่สำาคัญประการหนึ่งของระบบนี้ เมื่อเทียบกับระบบเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 คือ ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เป็นการเลือกผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้งเท่านั้น
ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อพรรค มาจากการนำาคะแนนจากการเลือกตั้งสมาชิก