Page 56 - kpiebook63006
P. 56
56 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
บัญชีรายชื่อ อย่างไรก็ตามการกระจายคะแนนเสียงให้กับพรรคขนาดกลางของระบบเลือกตั้งนี้ ไม่อาจ
เรียกได้ว่าทำาให้เกิดสัดส่วนของตัวแทนที่พึงประสงค์ แต่ส่งผลโดยตรงให้พรรคขนาดกลางมีอำานาจ
ต่อรองมากขึ้นว่าจะเลือกร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคใด ฉะนั้น คะแนนเสียงของประชาชนไม่อาจส่งผล
อย่างแท้จริงในการจัดตั้งรัฐบาล ในระยะยาว ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมืองของประชาชนจะตำ่าลง
จนอาจทำาให้ความสนใจและความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองเสื่อมถอยลง
4. แนวคิด ทฤษฎีอัตลักษณ์ต่อพรรคการเมือง
อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมือง (party identification) จัดเป็นแนวคิด ทฤษฎีในการศึกษาพฤติกรรม
ทางการเมืองแนวจิตวิทยา แคมป์เบล และคณะ (Campbell et al. (1960 cited in Aaron C. Weinschenk
2010) อธิบายว่า อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองเป็นความผูกพันอย่างยาวนานของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ต่อพรรคการเมือง โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมจากครอบครัว
เมื่อระยะเวลาผ่านไป บุคคลก็จะสร้างรูปแบบความผูกพันต่อพรรคการเมือง มีผลต่อทัศนคติและการประเมินค่า
ต่างๆ ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตัวผู้สมัครและเหตุการณ์ทางการเมือง
นำาไปสู่การตัดสินใจเลือก
อย่างไรก็ตาม แม้ทฤษฎีนี้เชื่อว่า อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองของบุคคลมีความยั่งยืนสูงมากกว่าที่จะ
เปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แต่กระนั้น ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากเกิดปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
หรือเกิดเงื่อนไขความตึงเครียดสูง เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ (Fiorina 1981 cited in Aaron C. Weinschenk 2010)
นับตั้งแต่การเลือกตั้ง 35/2 ที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งและชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรค
ได้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ก็ครองความนิยมในพื้นที่ภาคใต้รวมถึงจังหวัดสงขลา
มาอย่างต่อเนื่อง แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองจึงถูกนำามาอธิบายถึงความนิยม ที่คนภาคใต้
มีต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างเหนียวแน่น ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมนับตั้งแต่ระดับครอบครัว
จนกระทั่งถึงระดับสังคมโดยรวม เช่น กลุ่มเพื่อน สมาคมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้นำาเสนอไว้ข้างต้นว่า
อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ หากเกิดปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
ในวงกว้างจนนำาไปสู่วิกฤติศรัทธา เช่น วิกฤติเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองที่ตนผูกพันไม่สามารถช่วยบรรเทา
ปัญหาได้ ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เกิดขึ้นในบรรยากาศที่มีปัญหา
ในทางเศรษฐกิจอันเป็นผลพวงของการบริหารประเทศของรัฐบาลคสช. หลังการรัฐประหารยาวนานถึง 5 ปี
แนวคิดอัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองจึงไม่สามารถอธิบายการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ เมื่อผลการเลือกตั้ง
ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งในพื้นที่ภาคใต้ครั้งใหญ่ โดยที่สงขลาจาก 8 ที่นั่งเหลือเพียง 3
ที่นั่งเท่านั้น