Page 59 - kpiebook63006
P. 59
59
(Opportunity) ในการกระทำาหรือแสดงพฤติกรรมของคนในสังคม (Hay, 1995: 200) ดังนั้นในช่วงของการเลือกตั้ง
ก็เช่นเดียวกัน บริบทหรือโครงสร้างมีความสัมพันธ์กับผู้กระทำาทั้งต่อพรรคการเมือง นักการเมือง และ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งในแง่มุมต่างๆ
7. บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของการเลือกตั้ง
24 มีนาคม 2562
การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เกิดขึ้นภายใต้บริบทหรือโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและ
สังคม กล่าวคือการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2560 ซึ่งกำาหนดระบบการเลือกตั้ง
เป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสมแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อน อีกทั้งยังเป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลัง
จากรัฐบาลคสช. ซึ่งมาจากการรัฐประหารบริหารประเทศมาอย่างยาวนานถึง 5 ปี ท่ามกลางเสียง
วิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลวในการบริหารงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ซบเซา เป็นยุค
ข้าวยากหมากแพง ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่มทั้งในหมู่ผู้บริโภคที่มีเงินจับจ่ายใช้สอยลดลงและผู้ผลิต
ผู้ค้า ที่ค้าขายได้ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน สังคมไทยในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้าน
เทคโนโลยีการสื่อสารไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในโลก จึงเกิดการใช้สื่อสังคมออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย
ในกลุ่มคนต่างๆ ทั่วทุกกลุ่ม และกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ไม่เพียงแต่ในพื้นที่เขตเมืองแต่ยังรวมถึงพื้นที่
ชนบทอีกด้วย นอกจากนี้ การเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งห่างเหินจากการเลือกตั้งครั้งก่อนถึง 8 ปี ทำาให้มี
จำานวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (first voter) เป็นจำานวนมาก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา
ที่ยังศึกษาเล่าเรียน และเป็นคนหนุ่มสาววัยเริ่มทำางาน ทั้งที่ได้งานทำาแล้วและยังว่างงาน พวกเขาเหล่านี้
อยู่ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองและเศรษฐกิจหลังการรัฐประหาร เป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตสัมพันธ์กับ
สื่อสังคมออนไลน์ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากกว่า
การรับรู้ข้อมูลจากสื่อกระแสหลักเช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์
บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมดังที่กล่าวมาย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง
พฤติกรรมการเลือกตั้งและความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
ที่ผ่านมา