Page 64 - kpiebook63006
P. 64

64    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ



                       ผู้วิจัยเข้าถึงข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ส่วนคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสาร

             และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                      1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ข้อมูล
             ข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น


                      2. การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
             (non -structured interview)


                        2.1 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                        2.2 คณะทำางานของผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                        ทั้งนี้ สืบเนื่องจากข้อจำากัดของระยะเวลาในการทำาวิจัยและผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้

             มีเป็นจำานวนมาก ผู้วิจัยจะเลือกผู้ให้สัมภาษณ์แบบเจาะจงเพียงบางคน บางพรรค ที่สามารถสละเวลา
             ในการหาเสียงให้สัมภาษณ์ได้เท่านั้น


                        2.3 สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง


                      3. การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) เช่น การติดตาม

             การลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและคณะทำางาน การเข้าร่วมฟังการปราศรัย การสังเกตการณ์วันลงสมัคร
             รับเลือกตั้ง การติดตามบรรยากาศในวันลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นต้น







             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย



                      1. คำาถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เป็นคำาถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview)
             ซึ่งเปิดโอกาสให้ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ในการถามและแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ
             ที่เกี่ยวเนื่องซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการให้สัมภาษณ์


                      2. เครื่องบันทึกเสียง สมุดจดบันทึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69