Page 68 - kpiebook63006
P. 68
68 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
1. บริบทของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
การเลือกตั้งในครั้งนี้มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยแวดล้อม
หรือบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมดังนี้
1.1 บริบททำงกำรเมือง
1.1.1 ระบบกำรเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ระบบ
ใหม่นี้กำาหนดให้บัตรเลือกตั้งมีเพียงใบเดียว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งตัวผู้สมัครและพรรคที่
ผู้สมัครสังกัด แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ซึ่งทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีโอกาส
“เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” แต่ระบบเลือกตั้งใหม่นี้ที่นำาคะแนนของผู้สมัครทุกคนในระบบเขต
ไปรวมคะแนน เพื่อจัดสรรที่นั่งของส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ (รายละเอียดผู้วิจัยได้นำาเสนอแล้วในบทที่ 2)
นับเป็นปัจจัยที่ทำาให้มีจำานวนผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้งทั่วประเทศเป็นจำานวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์
การเลือกตั้งของไทยเนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆ หวังคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละคนไม่ว่าจะมาก
หรือน้อยเพียงใดก็ตาม เพื่อนำาไปคำานวณคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ ในจังหวัดสงขลาก็เช่นเดียวกัน
มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 269 คน ในขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มีผู้สมัครรวมทุกเขตเลือกตั้งทั้งสิ้น
เพียง 31 คนเท่านั้น หรือเฉลี่ยเขตเลือกตั้งละ 4 คน (บูฆอรี ยีหมะ 2558) โดยแบ่งออกเป็นแต่ละเขตดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 จำานวนทั้งสิ้น 34 คน
เขตเลือกตั้งที่ 2 จำานวนทั้งสิ้น 32 คน
เขตเลือกตั้งที่ 3 จำานวนทั้งสิ้น 34 คน
เขตเลือกตั้งที่ 4 จำานวนทั้งสิ้น 38 คน
เขตเลือกตั้งที่ 5 จำานวนทั้งสิ้น 30 คน
เขตเลือกตั้งที่ 6 จำานวนทั้งสิ้น 32 คน
เขตเลือกตั้งที่ 7 จำานวนทั้งสิ้น 32 คน
เขตเลือกตั้งที่ 8 จำานวนทั้งสิ้น 37 คน
กล่าวได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้คุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้งมีความแตกต่าง
หลากหลายมากทั้งคุณวุฒิการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์การทำางานและมีสตรีสมัครเป็นจำานวนมาก
ในทุกเขตเลือกตั้งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ