Page 69 - kpiebook63006
P. 69
69
บรรยากาศในวันรับสมัครเลือกตั้งวันแรก 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่อาคารศูนย์เกียรติพัฒน์ องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลา จึงมีทั้งผู้สมัครและผู้ให้การสนับสนุนผู้สมัครเป็นจำานวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
การเลือกตั้งครั้งก่อน สิ่งที่ไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนก็คือ ผู้สนับสนุนผู้สมัครถือป้ายหาเสียง
ของผู้สมัครในบริเวณพื้นที่รับสมัครเพื่อให้เป็นที่สะดุดตาของสื่อมวลชน โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวโทรทัศน์
ช่องต่างๆ ที่มานำาเสนอข่าว ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่
สื่อสังคมออนไลน์ (social media) เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ มีบทบาทสูงมาก ทำาให้ผู้ให้การสนับสนุน
ผู้สมัครใช้โอกาสนี้ในการถ่ายทอดสด (Live) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถึงบรรยากาศในการสมัครรับเลือกตั้ง
ทั้งในส่วนของการพูดคุยของผู้สมัคร และผู้ให้การสนับสนุนผู้สมัครซึ่งนับเป็นการหาเสียงที่สามารถเผยแพร่
ได้ในวงกว้างและประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างสูง ส่วนความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ก็คือ
เมื่อผู้สมัครได้หมายเลขประจำาตัวแล้วก็ขึ้นรถหาเสียงกลับไปยังสำานักงาน หรือศูนย์ประสานงานพรรค
อย่างเงียบๆ ไม่สามารถขึ้นรถแห่พร้อมกับชูป้ายแสดงหมายเลขพร้อมกับเปิดปราศรัยได้ทันที เนื่องจาก
ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีกฎระเบียบห้ามไว้ไม่สามารถทำาได้หลังเสร็จสิ้นการรับสมัคร
การสมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครเกือบทุกคน ทุกพรรค ทุกเขตเลือกตั้งมาสมัครในวันแรก มีเพียง
บางคนบางพรรคเท่านั้นที่มาในวันสุดท้ายคือ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 เนื่องจากรอมติกรรมการบริหารพรรคตัดสินว่าใครจะได้ลงสมัครในเขตนี้ เพราะมีปัญหาในการ
จัดตัวผู้สมัคร ซึ่งสืบเนื่องมาจากจากปัญหาความเป็นเอกภาพของพรรคในระดับชาติ ที่ส่งผลต่อการ
จัดตัวผู้สมัคร (รายละเอียดปรากฏในหัวข้อ 5.1และ 5.2) และผู้สมัครพรรคไทรักธรรมเกือบทุกเขต
เลือกสมัครในวันสุดท้ายและคนสุดท้ายเพื่อให้ได้หมายเลขสุดท้าย เนื่องจากเชื่อว่าจะสะดวกในการหาเสียง
เลือกตั้ง เวลาลงพื้นที่พบปะผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะง่ายในการแนะนำาตัว ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกเบอร์สุดท้าย
ในบัตรเลือกตั้งนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจมากทีเดียว บรรยากาศการสมัครรับเลือกตั้งโดยภาพรวมเป็นไป
ด้วยความราบรื่น เรียบร้อย มีปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อยจากผู้สมัครบางรายที่เอกสารไม่ครบแต่ในที่สุด
ก็สามารถนำาเอกสารกลับมาสมัครผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ดังที่ผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสงขลา
ได้ให้ความเห็นว่า
“การรับสมัครไม่ได้มีปัญหาอุปสรรคอะไร เพราะเราวางระบบไว้ดี ผู้สมัครก็เกรงกลัว
การฝ่าฝืนกฎหมาย เราให้ความรู้แก่ผู้สมัคร ผู้ช่วยหาเสียง ทีมงานหาเสียงไปก่อนหน้านี้แล้ว
เพื่อเตรียมตัวว่า คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นอย่างไร ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ขั้นตอน
ในการสมัครเป็นอย่างไร ตลอดจนวิธีการหาเสียงที่ถูกต้อง อะไรผิดกฎหมาย อะไรท�าได้
ท�าไม่ได้...ผู้สมัครบางรายที่หลักฐานขาดก็รีบวิ่งกลับไปเอาเลย ส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจคือ
การเสียภาษี 3 ปี เราก็อธิบายชัดเจนว่าภาษี 3 ปี นับจากไหน...บางคนเสียภาษีไม่ครบ
ก็ไปที่สรรพากรทันทีเพื่อเสียภาษีย้อนหลัง แต่ก็มีผู้สมัครที่มีปัญหานี้น้อยมากและ
ที่มีปัญหานี้ในที่สุดก็ได้สมัครทุกคน” (เสน่ห์ รักรงค์, สัมภาษณ์ 19 มีนาคม 2562)