Page 74 - kpiebook63006
P. 74

74    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      1.2 บริบททำงเศรษฐกิจ: ภำวะเสื่อมถอยทำงเศรษฐกิจ


                      การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นห่างจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2554 (ไม่นับการเลือกตั้งปี 2557

             ซึ่งเป็นโมฆะ) ถึง 8 ปี บรรยากาศก่อนการเลือกตั้งจึงได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต้องการหวนคืนสู่
             ความเป็นประชาธิปไตย มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อจะได้เป็นปากเสียง

             ให้กับตนเองอย่างแท้จริง เนื่องจากมีความรู้สึกว่า 5 ปี ของการดำาเนินงานภายใต้รัฐบาลของพลเอก
             ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำาให้ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง กระทบต่อ

             ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับบรรยากาศการเลือกตั้งปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก
             ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 การเลือกตั้งปี 2562 นับว่าภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลามีความเสื่อมถอย

             มากกว่า


                      การเลือกตั้งปี 2544 เกิดขึ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจ “โรคต้มยำากุ้ง” ซึ่งเริ่มต้นราวปี 2540 และยังคง
             ขยายตัวต่อเนื่องในปีเลือกตั้ง 2544 ทำาให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เกือบทั้งประเทศ

             แต่กลับมียกเว้นเพียงที่เดียวคือ ภาคใต้ รวมถึงจังหวัดสงขลา เมื่อพรรคไทยรักไทย ที่มีทักษิณ ชินวัตร
             เป็นหัวหน้าพรรคชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน วิกฤติต้มยำากุ้งทำาให้ธุรกิจ

             ล้มระเนระนาดจำานวนมาก มีคนตกงานเป็นตัวเลขที่สูงยิ่ง เด็กนักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน
             จำานวนไม่น้อย เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีกำาลังที่จะส่งเสียให้เล่าเรียนอีกต่อไป (บูฆอรี ยีหมะ 2547)

             แต่วิกฤติเศรษฐกิจระดับชาติดังกล่าว กลับไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้มากมายนัก
             เพราะเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ในช่วง 20 ปีที่แล้ว เศรษฐกิจของภาคใต้ที่พึ่งพาภาคเกษตร

             โดยเฉพาะยางพาราและประมง ราคายางพาราในช่วงปี 2544 (ตัวเลขที่สืบค้นได้จากเว็บของการยางแห่ง
             ประเทศไทยย้อนไปได้แค่ปี 2544) ยางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 23 บาท ซึ่งเป็นราคาปกติ

             ในช่วงเวลานั้น และเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ราคานี้ไม่ได้ส่งผลกระทบมากมายนัก หรือ
             ชาวสวนยางสามารถดำารงชีวิตได้เป็นปกติ เพราะเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุระดับปริญญาตรี เริ่มต้น

             ที่ 6,020 บาท ในขณะที่ราคาทองคำาถูกกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการปริญญาตรีบรรจุใหม่ อยู่ที่บาทละ
             ประมาณ 5,000 บาทเท่านั้นเอง อีกทั้งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว คนใต้ยังมีค่านิยมรับราชการ บัณฑิตเรียนจบ

             มุ่งเน้นรับราชการ การทำางานภาคเอกชน โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นเจ้าของกิจการเอง
             เช่นปัจจุบันนี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก วิกฤติต้มยำากุ้งจึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ไม่มากนัก

             มีผลต่อความคิดทางการเมืองทำาให้ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจทาง
             การเมือง นโยบายของพรรคไทยรักไทยที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งถูกมองว่าเป็นนโยบาย

             ประชานิยม ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกของคนใต้แตกต่างจากคนภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคเหนือและ
             ภาคอีสานที่เลือกพรรคไทยรักไทยอย่างถล่มทลาย


                        ในขณะที่ในปัจจุบัน หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ

             การขึ้นมามีอำานาจบริหารประเทศนำาโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ทั่วประเทศเผชิญกับ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79