Page 76 - kpiebook63006
P. 76
76 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจนี้นับเป็นบริบททางเศรษฐกิจ ที่ห้อมล้อมบรรยากาศทางการเมือง
และการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยเชื่อมโยงสัมพันธ์กับระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่นำามาสู่
การเสนอตัวของผู้สมัครและพรรคการเมืองเป็นจำานวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง เพื่อให้
ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต โดยประเด็นหลักที่ต้องการให้พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง
เป็นรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนคือ ด้านเศรษฐกิจ ดังตัวอย่างจากผลการสำารวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่หนังสือพิมพ์โฟกัส ภาคใต้ ฉบับวันที่ 14-20 มกราคม 2562 เสนอไว้ตามภาพที่ 4.4
ภำพที่ 4.4 ผลส�ำรวจควำมคิดเห็นของประชำชนภำคใต้ต่อปัญหำเร่งด่วน
ที่ต้องกำรให้รัฐบำลใหม่แก้ไข
1.3 บริบททำงสังคม: สื่อสังคมออนไลน์ (social media)
การเลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ แม้กระทั่งการเลือกตั้ง
เมื่อ 8 ปีที่แล้ว คือ ปี 2554 ประการหนึ่งก็คือ ช่องทางการโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง
ในอดีตการหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมืองใช้สื่อกระแสหลักคือ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นช่องทาง
การสื่อสารกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวงกว้างครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะสื่อสาร
ทางเดียว (one way communication) โดยพรรคการเมืองส่งสารมายังผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งไม่สามารถโต้ตอบและพรรคเองก็ไม่สามารถรับรู้ รับทราบปฏิกิริยาของประชาชนยกเว้น
ในกรณีที่สื่อมวลชนเสนอข่าว หรือจัดการสำารวจความคิดเห็นของประชาชน (โพลล์) ในขณะที่
การสื่อสาร 2 ทาง (two way communication) ที่ผู้สมัครมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะดำาเนินการ