Page 80 - kpiebook63006
P. 80

80    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      ปัญหาความเป็นเอกภาพภายในพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีนี้ยิ่งแจ่มชัด หลังจากที่นพ.วรงค์

             วิจารณ์อภิสิทธิ์อย่างหนัก ฝ่ายที่สนับสนุนอภิสิทธิ์เสนอให้นพ.วรงค์ ลาออกจากพรรค เช่น เชาว์ มีขวด
             รองโฆษกพรรค กล่าวว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีหน้าที่แค่เพียงชนะเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่อำานาจบริหารประเทศ

             เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการรักษาอุดมการณ์ ความถูกต้อง เพื่อเป็นหลักให้กับบ้านเมืองด้วย


                                   “หากอึดอัดที่พรรคยึดอุดมการณ์ หมอวรงค์ก็มีทางเลือกที่จะย้ายไปสังกัด
                            พรรคการเมืองไหนก็ได้ที่ถูกจริตกับตัวเอง แต่อย่ากินบนเรือนขี้รดบนหลังคา หรือ

                            คิดเผาบ้านตัวเอง เพราะพฤติกรรมแบบนั้นถือว่าเนรคุณพรรคที่ให้ก�าเนิดทางการเมือง
                            แต่ผมไม่แปลกใจกับจุดยืนเช่นนี้ของหมอวรงค์ เพราะก่อนที่จะได้รับโอกาสจากพรรค

                            ประชาธิปัตย์ให้ลงสมัครที่พิษณุโลก หมอวรงค์ เคยเดินตามก้นนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
                            ในฐานะที่เกือบจะได้เป็นผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย ก่อนที่จะโดนปฏิเสธจากพรรค

                            ดังกล่าว จนต้องมาพึ่งใบบุญพรรคประชาธิปัตย์” (ไทยโพสต์, 26 มีนาคม 2562 (ออนไลน์),
                            ปชป.ระส�่าหนัก! รองโฆษกพรรคไล่’หมอวรงค์’ไปอยู่พรรคอื่น อย่าเนรคุณเผาบ้านตัวเอง

                            แฉเคยตามก้น’เจ๊แดง, 30 มีนาคม 2562, แหล่งที่มา https://www.thaipost.net/main/
                            detail/32266)





                      2.2 ปัจจัยระดับพื้นที่


                      ปัญหาความเป็นเอกภาพของพรรคประชาธิปัตย์ในระดับชาติได้ส่งผลกระทบต่อความเป็น

             เอกภาพของพรรคประชาธิปัตย์ในระดับพื้นที่รวมถึงจังหวัดสงขลา นับตั้งแต่อดีตเรื่อยมา สงขลา
             มีแกนนำาสำาคัญของส.ส. 2 คน คือ ถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคและแกนนำากปปส. และนิพนธ์

             บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เช่น การจัดตัวผู้สมัครในพื้นที่
             เขต 1 อำาเภอเมืองสงขลา จากการทำาไพรมารี่ โหวต (primary vote) หรือการหยั่งเสียงเพื่อสรรหาตัวผู้สมัคร

             ของพรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่าเขตเลือกตั้งนี้เสียงส่วนใหญ่ของผู้เข้าประชุมเลือกสรรเพชญ บุญญามณี
             วัย 28 ปี บุตรชายของนิพนธ์ บุญญามณี ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นเหนือเจือ ราชสีห์ อดีตส.ส. 4 สมัย

             วัย 60 ปี ผู้ติดตามการเมืองจำานวนไม่น้อยเห็นว่า สรรเพชญ ชนะเพราะเป็นบุตรชายของนิพนธ์ ประเด็นนี้
             ก็มีส่วนไม่น้อย แต่เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของภาพรวมทั้งหมดของสงขลา เขต 1 และสงขลาทั้งจังหวัด ทั้งนี้

             เจือ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก ในปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2540
             เป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติระบบการเลือกตั้งใหม่คือ ระบบเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน และระบบบัญชีรายชื่อ

             (Party List) หลังจากอำานวย สุวรรณคีรี อดีตส.ส. หลายสมัย เป็นผู้มีอาวุโสทางการเมืองไปลงสมัคร
             ในระบบบัญชีรายชื่อ ทำาให้เขต 1 สงขลาว่างลง จึงเกิดการแย่งชิงเพื่อเป็นผู้สมัครส.ส. ระบบเขตของ

             ผู้สมัครหน้าใหม่หลายรายซึ่งรวมถึงเจือ ได้แก่ สุรินทร์ วัตตธรรม อัยการจังหวัดสงขลา สมเกียรติ กิมาคม
             อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ดร. กานต์ บุญศิริ ผู้ช่วยส.ส. ของอำานวย สุวรรณคีรี

             ในที่สุดพรรคก็ตัดสินใจเลือกเจือ เป็นตัวแทนพรรค แม้ว่ากระแสการเมืองในพื้นที่ให้การสนับสนุนสุรินทร์
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85