Page 77 - kpiebook63006
P. 77
77
ผ่านการจัดเวทีปราศรัยทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อย การเดินหาเสียงและแจกบัตรแนะนำาตัวในย่านชุมชน
การเดินหาเสียงเคาะประตูในแต่ละบ้าน เป็นต้น แต่ก็เป็นการสื่อสารที่มีข้อจำากัดในแง่ของการสื่อสาร 2 ทาง
ที่ไม่สามารถดำาเนินการได้ในวงกว้างเนื่องจากต้องใช้เวลามากและเงินทุนสูง ไม่สอดคล้องกับระยะเวลา
ของการหาเสียงและงบประมาณที่จำากัด
ในขณะที่การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าสูงยิ่ง ในขณะที่
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารทั้งในรูปของโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยง
สัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อกันอย่างแพร่หลาย เช่น
เฟสบุ๊ก (facebook) ทวิตเตอร์ (twitter) อินสตราแกรม (instragram) พรรคการเมืองและผู้สมัครจำานวน
มากใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้เป็นช่องทางสำาคัญในการสื่อสารกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเป็นการสื่อสาร
2 ทาง ที่ทำาให้พรรคการเมืองและผู้สมัครรับรู้ถึงความรู้สึก ความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
พรรคการเมืองที่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมสร้างความ
ได้เปรียบในแง่ของการได้คะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างสูงเมื่อเทียบกับผู้สมัครและพรรคการเมือง
ที่ยังคงไม่ให้ความสำาคัญกับสื่อประเภทนี้ ยังคงใช้การสื่อสารในรูปแบบเดิมๆ เป็นหลัก เช่น การจัดเวที
ปราศรัย การใช้รถแห่ไปยังพื้นที่ต่างๆ การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ พิจารณาได้จาก
เนื้อหาที่ใช้ในการหาเสียงควบคู่กับเทคนิคในการนำาเสนอ เช่น การทำาคลิปวิดีโอโฆษณานโยบายพรรค
นำาเสนอหัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคที่มีความโดดเด่น จนนำาไปสู่ยอดจำานวนการกดไลค์ หรือกดแสดง
ความชื่นชอบ หรือการกดแบ่งปันหรือแชร์ไปให้คนอื่นๆ เป็นจำานวนมาก
สื่อสังคมออนไลน์นี้สอดคล้องกับความตื่นตัวของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกเป็นจำานวนมาก
คนเหล่านี้เป็นผู้นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลายเป็นปกติอยู่แล้วในชีวิตประจำาวัน ดังนั้น
พรรคการเมืองและผู้สมัครที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมาก และมีประสิทธิภาพย่อมสร้างความนิยมให้เกิด
ขึ้นในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนี้ โดยเห็นว่า พรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีลักษณะเช่นนี้เป็นสถาบัน
และบุคคลร่วมสมัยกับตนเอง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการหาเสียง
เลือกตั้งในแง่หนึ่งก็คือ การเชื่อมโยงประเด็นในระดับชาติทั้งในด้านนโยบาย และปัญหาที่เกิดขึ้นที่จะใช้
นโยบายมาช่วยแก้ไขกับพื้นที่ต่างๆ ในการเลือกตั้ง เช่น นโยบายด้านการเกษตรจะแก้ไขปัญหาภาพรวม
ในระดับชาติและปัญหาเฉพาะในพื้นที่ต่างๆ ในขณะเดียวกันสามารถนำาประเด็นปัญหาในระดับพื้นที่
ผลักดันให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างในระดับชาติ อาทิ ปัญหาราคายางพาราตกตำ่าและแนวทางแก้ไข สื่อสังคม
ออนไลน์จึงมีประสิทธิภาพสูงยิ่งในการหาเสียงเลือกตั้งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวงกว้าง พรรคและผู้สมัคร
ที่มีความโดดเด่นในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคอนาคตใหม่