Page 72 - kpiebook63006
P. 72
72 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ระบบเลือกตั้งใหม่ที่เป็นปัจจัยสำาคัญก่อให้เกิดผู้สมัครเป็นจำานวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์นี้
ผู้สมัครบางพรรคได้สะท้อนผลกระทบด้านลบทั้งต่อตัวผู้สมัคร พรรคการเมืองและระบบการเมือง เช่น
ว่าที่ร้อยตรีเสรีย์ นวลเพ็ง ผู้สมัครพรรคไทยรักษาชาติ เขต 2 (ถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562) เห็นว่า
เป็นระบบเลือกตั้ง ที่ให้ประโยชน์แก่นายทุนพรรคที่ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ในขณะที่คะแนนมาจาก
ผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง “ระบบเลือกตั้งแบบนี้เอื้อปาร์ตี้ ลิสต์ ให้ผู้สมัครเขตทำางานให้ ผู้สมัครเขต
เปรียบเสมือนมดงาน พนักงานบริษัท ทำางานให้นายทุน เจ้าของบริษัท” (เสรีย์ นวลเพ็ง, สัมภาษณ์
20 มกราคม 2562) อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อของหลายๆ พรรคการเมืองได้ลงพื้นที่ช่วย
ผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง เพราะต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพียงแต่ผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อ
ช่วยหาเสียงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ได้ปักหลักอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น
พล.ต.ต.สุรินท์ ปาเลเร่ ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ เขต 8 เห็นว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 ที่ไม่กำาหนดคุณวุฒิทางการศึกษา และระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมไม่ช่วยกรอง
ผู้สมัคร ทำาให้มีผู้สมัครจำานวนมาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยเพราะหน้าที่ของส.ส.
ซึ่งทำาหน้าที่ด้านนิติบัญญัติต้องเป็นคนที่มีความรู้พอสมควรในการบัญญัติกฎหมาย
“ระบบเลือกตั้งแบบนี้ท�าให้มีผู้สมัครจ�านวนมาก หน้าที่ของส.ส. ต้องพิจารณา
ออกกฎหมาย แต่ผู้สมัครบางรายจบป.4 ถือว่าระบบเลือกตั้งนี้เป็นการถอยหลังเข้าคลอง
การใช้บัตรใบเดียวเอาผู้สมัครจ�านวนมากที่เป็นคนในพื้นที่มาเพื่อเอาคะแนนปาร์ตี้ลิสต์
อย่างเดียว” (สุรินทร์ ปาลาเร่, สัมภาษณ์ 20 มีนาคม 2562)
1.1.2 คนวัยหนุ่มสำวผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (first voter) เป็นจำานวนมาก เนื่องจากการเลือกตั้ง
ครั้งสุดท้ายปี 2554 ห่างจากการเลือกตั้งครั้งนี้ยาวนานถึง 8 ปี จากผลสำารวจความคิดเห็นทางการเมือง
ของหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ (14-20 มกราคม 2562) ผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่ง (55.5) อยู่ในวัย
คนหนุ่มสาวที่อยู่ในสถาบันการศึกษา และในวัยเริ่มต้นทำางาน โดย 8.5% มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้
ยังไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งเลย คนกลุ่มนี้จึงสัมผัส ซึมซับกับบรรยากาศทางการเมืองที่มีพรรคการเมือง
เสนอตัวพรรคและผู้สมัครจำานวนมากให้เลือก โดยที่พวกตนยังไม่ได้ผูกพันกับพรรคการเมืองหนึ่ง
พรรคการเมืองใดเลย โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ 47% มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีประสบการณ์
ในการเลือกตั้งมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ได้สัมผัสกับบรรยากาศทางการเมืองและการเลือกตั้ง และรับรู้
การดำาเนินงานของพรรคการเมืองที่ตนเลือกและไม่เลือก ได้เห็นการทำางานของพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน
ในช่วงเวลานั้น เสียงของคนรุ่นใหม่เหล่านี้ย่อมสะท้อนถึงคำาตอบต่อคำาถามของโพลล์ที่ว่า “ท่านมีพรรค
/ผู้สมัครที่จะเลือกแล้วหรือยังโดยเป็นพรรค/ผู้สมัครเดิมหรือไม่” ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่