Page 70 - kpiebook63006
P. 70

70    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา




















































                              ภำพที่ 4.1 บรรยำกำศวันรับสมัครเลือกตั้ง 4 กุมภำพันธ์ 2562
                              ณ อำคำรศูนย์เกียรติพัฒน์ องค์กำรบริหำรส่วนจังหวัดสงขลำ





                      ระบบการเลือกตั้งใหม่นี้นับเป็นปัจจัยสำาคัญ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การเมือง
             ของจังหวัดสงขลา เพราะทำาให้มีจำานวนผู้สมัครและพรรคการเมืองเข้ามาแข่งขันมากกว่าในอดีตเพราะหวัง

             ที่จะได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ อีกทั้งการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีความมุ่งมั่น
             จริงจังหวังจะเอาชนะการเลือกตั้ง ไม่ได้ส่งผู้สมัครเพียงแค่หวังคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น

             หากพิจารณาตั้งต้นที่การเลือกตั้งปี 2544 ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งปรากฏว่า การเลือกตั้ง
             ทั่วประเทศพรรคไทยรักไทย พรรคเกิดใหม่ที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

             จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดสงขลาพรรคประชาธิปัตย์ยังคงครองความนิยม
             ได้ดังเดิม การเลือกตั้งปี 2544 จนกระทั่งถึงการเลือกตั้งปี 2554 พรรคไทยรักไทยและพรรคใหม่ที่สืบเนื่อง

             ต่อจากพรรคไทยรักไทยหลังจากถูกยุบคือ พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย เป็นเพียงพรรคเดียว
             ที่นับเป็นคู่แข่งสำาคัญของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา แต่คะแนนความนิยมในแต่ละเขต

             เลือกตั้งเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 10,000 คะแนน ส่วนการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ไม่เพียงมีพรรคการเมือง
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75