Page 75 - kpiebook63006
P. 75
75
ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่เว้นแม้กระทั่งภาคใต้ เศรษฐกิจของภาคใต้ที่พึ่งพายางพาราประสบปัญหาในด้าน
ราคาที่ตำ่ามากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ ปัจจุบันราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ราคา
ทองคำาเฉลี่ยอยู่ที่บาทละ 20,000 บาท เงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุในระดับปริญญาตรีอยู่ที่ 15,000 บาท
ในขณะเดียวกัน การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทำาให้ปัจจุบัน
คนหนุ่มสาวที่เรียนจบแล้วมีความนิยมในการประกอบธุรกิจส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะเกิดปัญหา
วิกฤติเศรษฐกิจในยุครัฐบาลคสช. การค้าขาย การประกอบธุรกิจในพื้นที่ภาคใต้มีความคึกคักไม่น้อย
สินค้าเกษตรอย่างยางพาราที่เคยมีราคาสูงเฉลี่ยกิโลกรัมละเกิน 100 บาท ในยุคสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำาให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยกันอย่างกว้างขวาง เช่น
รถจักรยานยนต์ รถยนต์กระบะ เป็นหนึ่งในสินค้าที่ขายดีเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
การจับจ่ายใช้สอยที่เคยเกิดขึ้นอย่างคึกคักก็ซบเซาลงอย่างหนัก
อำาเภอหาดใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่สำาคัญทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงของจังหวัดสงขลาแต่รวมถึงภาคใต้
ทั้งภาคประสบกับปัญหาวิกฤติอย่างหนัก จากภาวะซบเซาของการจับจ่ายซื้อสินค้าของประชาชน
จนทำาให้ห้างร้านจำานวนมากต้องประกาศขายกิจการหรือปิดกิจการ (ประชาชาติธุรกิจ, 25 มิถุนายน
2561, ย่านเศรษฐกิจหาดใหญ่ซบสนิท แห่เซ้งแผงค้า “กิมหยง-สันติสุข”, (ออนไลน์) 3 เมษายน 2562,
แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/ news-179605) โดยเห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นมา
จากการที่การเมืองของประเทศยังไม่หวนกลับคืนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีตัวแทนและรัฐบาลที่มา
จากการเลือกตั้งโดยคสช. บริหารประเทศยาวนานมากเกินไป ส่วนในเขตอำาเภออื่นๆ ซึ่งเศรษฐกิจพึ่งพา
เกษตรกรรมทั้งยางพารา ปาล์มนำ้ามันและการประมง ปัจจัยทางด้านราคาของสินค้าเกษตรกรรมเหล่านี้
มีผลเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในจังหวัดสงขลาโดยรวม ราคาของสินค้าเกษตรยางพารา
ปาล์มนำ้ามัน ที่ลดน้อยลงเป็นอย่างมากสร้างความรู้สึกคับข้องใจในหมู่ประชาชน ต้องการให้มีการเลือก
ตั้งโดยเร็วเพราะเห็นว่า หลังการเลือกตั้งน่าจะส่งผลทำาให้ภาวะเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นจากบรรยากาศ
ทางการเมือง โดยเฉพาะการมีรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชน ในขณะที่ประชาชนเห็นว่า ในช่วง
ของรัฐบาลคสช. นั้น อดีตส.ส. ในพื้นที่ไม่ได้แสดงความเป็นตัวแทน เป็นกระบอกเสียงให้กับคนในพื้นที่
เพื่อประสานในการแก้ไขปัญหากับรัฐบาล
การไม่แสดงบทบาทในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ของอดีตส.ส.
ถูกสะท้อนผ่านสื่อมวลชนหลายแขนงทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นเป็นระยะเช่น
“หาดใหญ่เงียบ หาดใหญ่ซบเซา หาดใหญ่เศรษฐกิจไม่ดีเลย นี่คือค�าพูดของ
ชาวหาดใหญ่เวลานี้ ที่ผ่านมาคนหาดใหญ่ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เห็นหน้าผู้แทนเลย
ไม่เห็นลงมารับรู้ปัญหาชาวบ้านเลย” (กิมหยง นิวส์, 26 มีนาคม 2562, ศาสตรา ศรีปาน
ว่าที่สส.คนใหม่ ต้องแบกความหวังการเปลี่ยนแปลงของชาวหาดใหญ่, (ออนไลน์),
3 เมษายน 2562 แหล่งที่มา https://news.gimyong.com/article/10744)