Page 58 - kpiebook63006
P. 58
58 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
อย่างไรก็ตาม ข้อจำากัดของแนวคิดทฤษฎีนี้ในการอธิบายพฤติกรรมทางการเมือง การใช้
สิทธิเลือกตั้งโดยเฉพาะการตัดสินใจเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองจากนโยบายหาเสียงเป็นไปตามที่
Jon Elster (1986: 4) ได้อธิบายไว้ว่า เมื่อมนุษย์เราตกอยู่ในสถานการณ์ของการเลือก เราจะอาศัย
กระบวนการ 3 ขั้นตอนด้วยกันในการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผลคือ
ขั้นแรก เราจะพยายามจัดการต่อ “ชุดของความเป็นไปได้ (feasible set)” ซึ่งเป็นชุดของแนวทาง
ของการกระทำา (course of action) ทั้งหมด ซึ่งเราเชื่ออย่างมีเหตุผลว่า จะเป็นแนวทางที่ทำาให้เราบรรลุ
ผลที่เราต้องการภายใต้ข้อจำากัดที่หลากหลายทั้งในทางตรรกะ ลักษณะทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ
ขั้นนี้ก็คือ ขั้นของการประเมินความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการจากแนวทางทั้งหมด
ที่เรามีอยู่
ขั้นที่สอง หลังจากที่เราประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางต่างๆ ที่จะทำาให้เราบรรลุเป้าหมายแล้ว
เราจะเข้าสู่การพิจารณา “ชุดของความเชื่อที่มีเหตุผล (set of rational beliefs)” ซึ่งเกี่ยวโยงกับ
โครงสร้างเชิงเหตุ (causal structure) ของสถานการณ์ในการเลือกที่เป็นตัวกำาหนดว่าแนวทางของ
การกระทำาใด เมื่อตัดสินใจเลือกแล้วจะนำาไปสู่ผลลัพธ์อะไร ขั้นนี้จะทำาให้เรามองเห็นว่าแต่ละแนวทาง
มีความแตกต่างกันอย่างไร จะนำาไปสู่ผลลัพธ์อะไร
ขั้นสุดท้ายคือ การจัดลำาดับของแนวทางของการกระทำาที่มีความเป็นไปได้ทั้งหมด ซึ่งโดยปกติ
มักจะขึ้นอยู่กับว่าแนวทางของการกระทำาจะให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร เมื่อครบกระบวนการแล้วจะนำาไปสู่
การตัดสินใจเลือก การตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผลก็คือ การเลือกแนวทางของการกระทำาที่อยู่ในลำาดับ
สูงสุดจากชุดของความเป็นไปได้ดังกล่าว
6. แนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบริบทหรือโครงสร้าง
กับผู้กระท�า
แนวคิดนี้เสนอว่า การพิจารณาบริบทหรือโครงสร้าง (structure) ก็คือ การศึกษารูปแบบของ
ความสัมพันธ์ทางสังคม (patterns of social relations) หรือรูปแบบของการกระทำาต่อกันในทางสังคม
(social interactions) ซึ่งดำารงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานและสามารถสืบทอดรูปแบบความสัมพันธ์ต่อ
ไปได้เรื่อยๆ แต่ก็สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน (อนุสรณ์ ลิ่มมณี, 2539: 18 อ้างถึงใน
บูฆอรี ยีหมะ 2555: 20-21) ในแง่นี้โครงสร้างจึงทำาหน้าที่ ในการกำาหนดขอบเขตความเป็นไปได้ใน
การกระทำาต่อผู้กระทำา (actor) หรือกำาหนดพฤติกรรมของคนในสังคมว่าสิ่งใดกระทำาได้ สิ่งใดไม่สามารถ
กระทำาได้ หรือกระทำาแล้วยากที่จะบรรลุผลสำาเร็จ โครงสร้างจึงเป็นได้ทั้งกรอบจำากัด (Constraint) และโอกาส