Page 57 - kpiebook63006
P. 57

57








                  5. แนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล



                          แนวคิด ทฤษฎีนี้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลแตกต่างจากแนวคิด ทฤษฎีอัตลักษณ์

                  ต่อพรรคการเมืองและนักวิชาการหลายรายก็โต้แย้งแนวคิด ทฤษฎีอัตลักษณ์ต่อพรรคการเมืองว่า แม้จะมี
                  ความยั่งยืนต่อเนื่องสูงแต่ก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำามาอธิบายพฤติกรรมทางการเมือง

                  ของบุคคลได้ทุกเมื่อและทุกสังคมดังเช่นที่ Fiorina ได้เสนอไว้ข้างต้น


                          แนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice theory) อธิบายพฤติกรรม
                  ทางการเมืองของบุคคลผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำาวันของบุคคลว่า กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

                  เกิดขึ้นจากการไตร่ตรองและตัดสินใจกระทำาอย่างมีเหตุผล (Scott 1999: 1) โดยรากฐานทางความคิด
                  ของทฤษฎีนี้มาจากหลักการของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีสมมติฐานเกี่ยวกับมนุษย์ 4 ประการคือ

                  (Wallace and Wolf 1999: 299)

                          1.  เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการอรรถประโยชน์สูงสุด และตัดสินใจกระทำาในเรื่องต่างๆ ขึ้นอยู่กับ

                  รสนิยมและความพึงพอใจ


                          2.  เมื่อมนุษย์มีสิ่งใดๆ ก็ตามมากขึ้น ความสนใจหรือความต้องการต่อสิ่งนั้นจะลดลง เช่น
                  ข้าวจานที่สองทำาให้เรามีความต้องการน้อยกว่าจากแรก เพราะข้าวจานแรกสนองความต้องการของเรา

                  ในระดับหนึ่งแล้ว ทำาให้ความต้องการจานที่สองลดน้อยลง


                          3.  ราคาของสินค้าและบริการที่ขายในตลาดที่มีการแข่งขัน ถูกกำาหนดโดยตรงจากรสนิยมและ
                  ความคาดหวังของผู้ซื้อและผู้ขาย ความต้องการสินค้ายิ่งมีมาก สินค้านั้นยิ่งมีค่าและราคาก็จะสูงขึ้นตาม

                  อัตราความต้องการ แต่ถ้าปริมาณของสินค้ายิ่งมีมาก ค่าของสินค้าจะลดลงและราคาจะลดลงตามไปด้วย


                          4.  ราคาสินค้าจะแพง ถ้าหากมีผู้ผลิตหรือขายเพียงน้อยรายหรือผูกขาด เมื่อเทียบกับสินค้า
                  ที่มีผู้ผลิตหลายรายในตลาดที่มีการแข่งขัน กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มองมนุษย์เป็น

                  สัตว์เศรษฐกิจ (economic man) หวังอรรถประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจเลือกกระทำาสิ่งใดๆ ตั้งแต่
                  การทำากิจกรรมพื้นฐาน เช่น การดื่ม กิน ซื้อสินค้า ไปจนถึงกิจกรรมที่สำาคัญต่ออนาคตเช่น การเลือกเรียน

                  การเลือกประกอบอาชีพ การมีครอบครัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้ง แนวคิดทฤษฎีการตัดสินใจ
                  เลือกอย่างมีเหตุผลได้รับความสนใจจากนักวิชาการสาขาต่างๆ นำาไปแตกแขนงสร้างเป็นทฤษฎีในสาขาวิชา

                  ของตนเองเช่น สาขาสังคมวิทยาสร้างทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (social exchange theory)
                  สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองสร้างทฤษฎีการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม(public choice theory)

                  ส่วนทางรัฐศาสตร์นำาแนวคิดนี้มาอธิบายพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่น งานของ Anthony Downs
                  ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่อง An Economic Theory of Democracy (1957)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62