Page 51 - kpiebook63006
P. 51
51
2.5.1 ระบบถ่ำยโอนคะแนนเสียงไม่ได้
ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงไม่ได้ (single non-transferable vote: SNTV) ระบบนี้กำาหนด
เขตเลือกตั้งให้มีตัวแทนได้มากกว่า 1 คน แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกได้เพียงแค่ 1 คนเท่านั้น
ผู้ชนะเลือกตั้งคือ ผู้ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำาดับจนครบจำานวนของผู้แทนที่พึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
ซึ่งการนับคะแนนใช้หลักการของระบบ FPTP หรือเสียงข้างมากธรรมดา (นักวิชาการบางคนจึงจัดให้ระบบนี้
อยู่ในกลุ่มของระบบพหุนิยมหรือระบบเสียงข้างมากธรรมดา)
ข้อดีของระบบนี้
1. ผู้สมัครจากพรรคของชนกลุ่มน้อย ตลอดจนผู้สมัครอิสระมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งสูงขึ้น
ทำาให้มีตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสภา
2. เป็นระบบการเลือกตั้งที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและคณะผู้จัดการเลือกตั้ง
ข้อเสียของระบบนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนกับประชาชนในเขตเลือกตั้งมีน้อย เนื่องจากในเขตมีผู้แทน
หลายคน
2. ผู้สมัครบางรายอาจสร้างฐานเสียงหลักจำานวนหนึ่งเอาไว้หรือที่เรียกว่า คะแนนจัดตั้งก็ถือว่า
เพียงพอแล้ว เนื่องจากการชนะเลือกตั้งใช้คะแนนเสียงไม่สูงมากนัก
3. อาจเกิดความแตกแยกภายในทีมผู้สมัครพรรคเดียวกัน เนื่องจากเขตเลือกตั้งมีผู้แทนมากกว่า
1 คน แต่เลือกได้เพียงคนเดียว อาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันเองภายในทีมหรือที่เรียกว่า
ยิงลูกโดด หรือนำาไปสู่การแบ่งแยกเป็นกลุ่มย่อยภายในพรรคหรือมุ้ง (Faction)
2.5.2 ระบบคะแนนเสียงจ�ำกัด
ระบบคะแนนเสียงจำากัด (limited vote: LV) ระบบนี้คล้ายคลึงกับระบบพหุนิยม หรือ
เสียงข้างมากธรรมดาในการคิดคะแนนผู้ชนะเลือกตั้งแต่แบ่งเขตเลือกตั้งให้มีผู้แทนได้หลายคน และคล้ายคลึง
กับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงไม่ได้ แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบนี้มีสิทธิเลือกตัวแทนได้มากกว่า
1 คน แต่ถูกจำากัดให้น้อยกว่าจำานวนผู้แทนที่พึงมีทั้งหมดในเขตเลือกตั้ง เช่น ในเขตเลือกตั้งมีผู้แทนได้
4 คน อาจกำาหนดให้มีสิทธิเลือกได้เพียงแค่ 2 คน ผู้ชนะเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำาดับ
จากอันดับ 1 ถึงอันดับ 4