Page 48 - kpiebook63006
P. 48

48    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                     2.4 ระบบผสม


                      ระบบผสม (mixed member system: MMS) เป็นระบบการเลือกตั้งที่พยายามผสมผสาน

             ข้อดีของระบบพหุนิยม ระบบเสียงข้างมากและระบบสัดส่วนเข้าด้วยกันเพื่อลดจุดด้อยที่ระบบต่างๆ
             ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ระบบนี้จึงใช้ระบบการเลือกตั้ง 2 ระบบพร้อมกันในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน สามารถ

             ใช้ระบบสัดส่วนผสมกับระบบพหุนิยมหรือเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบสัดส่วนผสมกับระบบเสียงข้าง
             มากเด็ดขาดก็ได้ การเลือกตั้งระบบนี้จึงแบ่งย่อยออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบผสมการแบ่งเขตกับสัดส่วน

             หรือระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (mixed member proportional: MMP) และระบบคู่ขนานระหว่าง
             การแบ่งเขตและสัดส่วน (parallel system) หรือระบบผสมที่เน้นเสียงข้างมากเด็ดขาด (mixed member

             majoritarian: MMM) รายละเอียดมีดังนี้





                        2.4.1 ระบบผสมกำรแบ่งเขตกับสัดส่วน หรือระบบสัดส่วนที่มีสมำชิกแบบผสม


                        ระบบนี้จัดการเลือกตั้งด้วยการนำาระบบพหุนิยมหรือเสียงข้างมากธรรมดา ซึ่งมักจะแบ่ง

             เขตเลือกตั้งเป็นแบบเขตละ 1 คน ผสมกับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจึงต้องมี
             การเลือกใน 2 ลักษณะคือ ในบัตรเลือกตั้งใบเดียวจะมีทั้งส่วนของการเลือกผู้สมัครในระบบเขต และส่วนของ

             การเลือกพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ บางประเทศแยกบัตรเลือกตั้งออกเป็น 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้งผู้สมัคร
             ในระบบเขตและบัตรเลือกตั้งพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ ระบบนี้มีลักษณะที่สำาคัญคือ การใช้คะแนน

             จากบัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อพรรคมาจัดสรรที่นั่ง เพื่อเป็นการชดเชยที่นั่งในระบบเขตเลือกตั้ง
             เพื่อแก้ปัญหาการไม่ได้สัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงกับจำานวนที่นั่งในสภา ซึ่งเป็นจุดอ่อนหลักของระบบ

             พหุนิยม


                          การคำานวณหาที่นั่งในระบบนี้มีรายละเอียดดังนี้


                      1.  ให้นำาคะแนนเสียงจากระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดของทุกพรรคการเมือง มารวมกัน
                          เพื่อคำานวณหาจำานวนที่นั่งตามสัดส่วนที่แต่ละพรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ทั้งประเทศ


                      2.  ให้นำาจำานวนที่นั่งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ มาเทียบกับจำานวนที่นั่งแบบแบ่ง

                          เขตเลือกตั้ง ที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง เพื่อคำานวณหาจำานวนที่นั่งแบบบัญชี
                          รายชื่อ เมื่อทราบแล้วว่าแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งเท่าไร ต้องเอาจำานวนที่นั่งที่พรรคการเมือง

                          พึงจะมีได้มาลบกับจำานวนที่นั่งที่ได้รับจากระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำานวน
                          ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคนั้นจะได้รับ เช่น พรรค ก.จะต้องได้ ส.ส.ทั้งสภา 50 คน

                          แต่ได้ ส.ส.จากระบบแบ่งเขตแล้ว 30 คน ดังนั้น พรรค ก.จะต้องได้ ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อ
                          เพิ่มอีกจำานวน 20 คน เพื่อให้เท่ากับจำานวนที่นั่งทั้งหมดที่พรรคนั้นพึงมีได้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53