Page 36 - kpiebook63006
P. 36
36 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
5. หลักกำรเลือกตั้งอย่ำงเสมอภำค (equal suffrage)
บุคคลทุกคนต่างล้วนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งคนละหนึ่งเสียง และคะแนนเสียงทุกคะแนนมี
นำ้าหนักเท่ากัน ไม่มีบุคคลใดมีอภิสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นๆ ที่ทำาให้เขามีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าและ
คะแนนเสียงมีนำ้าหนักมากกว่าบุคคลอื่นๆ
สรุป การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นบรรทัดฐานทั่วโลก จำาเป็นต้องคำานึงหรือให้
ความสำาคัญในแง่ของการทำาให้การเลือกตั้งนั้นต้องเสรี มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม หรือ Free and Fair
ซึ่งปรากฏให้เห็นในการรณรงค์การเลือกตั้งทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเทศโลกที่ 3 รวมถึง
ประเทศไทยในการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งจนกระทั่งถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 นี้
2. ระบบการเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้ง (electoral system) คือ รูปแบบของการลงคะแนนและการนับคะแนนหรือ
การแปลงคะแนนของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อหาผู้ชนะในการเลือกตั้ง (บูฆอรี ยีหมะ 2559) ระบบการเลือก
ตั้งจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำาคัญ ที่มีผลต่อการได้มาซึ่งตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆ บางระบบเลือกตั้ง
เอื้ออำานวยต่อพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีสมาชิกพรรคจำานวนมากและย่อมมีความสัมพันธ์กับจำานวน
เงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะหากมีสมาชิกจำานวนมาก ย่อมมีเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งสูง
โดยพรรคมีรายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่าบำารุงสมาชิกพรรค เงินบริจาค รายได้จากการขายของที่ระลึก
เป็นต้น ในขณะที่บางระบบเลือกตั้งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีตัวแทนจากคนกลุ่มต่างๆ ทั่วทั้งสังคมเพื่อให้
ได้เป็นปากเสียงของประชาชนอย่างทั่วถึง ระบบเลือกตั้งที่แตกต่างกันยังเชื่อมโยงกับการจัดตั้งรัฐบาลว่า
จะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว รัฐบาลผสมน้อยพรรค หรือรัฐบาลผสมหลายพรรค
ดังนั้น การที่แต่ละประเทศจะตัดสินใจเลือกใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด มีประเด็นที่จะต้อง
พิจารณาหลายประเด็นดังนี้
1. ควำมเป็นตัวแทน
ในทางทฤษฎีคนที่ได้รับการเลือกตั้งถือว่าได้รับอาณัติจากผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้เป็นผู้เข้าไป
ทำาหน้าที่แทนตนเอง แต่มีประเด็นถกเถียงว่าเมื่อพิจารณาสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ ผู้ชนะเลือกตั้งมีความ
เป็นตัวแทนของคนทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งระบบเลือกตั้งที่แตกต่างกันสะท้อนถึงความเป็นตัวแทนที่แตกต่างกัน
2. ควำมรับผิดชอบและกำรถูกตรวจสอบได้
ผู้ที่เป็นตัวแทนของประชาชนต้องรับผิดชอบและถูกตรวจสอบได้จากประชาชน จึงเกิด
ข้อถกเถียงว่า ผู้แทนในเขตเลือกตั้งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนย่อมต้องมีความรับผิดชอบ