Page 136 - kpiebook63001
P. 136

118






                     ลำดับต่อมา คือ กลุ่มประชาชนที่อยู่รอบนอกเขตเทศบาล และกลุ่มประชาชนที่อยู่ชายขอบของ

               เขตอำเภอเมือง โดยบทบาทของหัวคะแนนมักจะเป็นประธานชุมชนและกรรมการชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็น
               ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สองส่วนนี้ ทั้งนี้ชุมชนรอบนอก ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

               ซึ่งมีจำนวนมากมักตกเป็นเป้าหมายของการซื้อเสียง เช่นเดียวกับพื้นที่นอกเขตเทศบาลที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
               ถูกมองว่าเป็นตัวแสดงสำคัญที่ผู้สมัครทุกคนเข้าหา เพราะกลไกของฝ่ายปกครองระดับชุมชน หมู่บ้าน นอกจากนี้
               ยังเป็นกลไกระดับฐานรากของรัฐในการดำเนินนโยบายต่างๆ ในช่วงหลังรัฐประหารเป็นต้นมา ในขณะที่

               กลุ่มผู้นำชุมชนที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เช่น นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระจายตัว
               ออกไปในการสนับสนุนผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ  ซึ่งในประเด็นเรื่องความพยายามของผู้สมัครที่ต้องการ

               ความร่วมมือจากนักการเมืองท้องถิ่น มีข้อสังเกตว่า ทุกพรรคการเมืองย่อมต้องการความร่วมมือจาก
               นักการเมืองท้องถิ่นในการช่วยหาเสียงหรือสนับสนุน แต่บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นส่วนหนึ่งเลือกที่จะ
               วางบทบาทของตนเองที่ไม่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้สมัครคนใด เนื่องมาจากผลที่อาจเป็นการสร้างศัตรูและ

               อาจกระทบต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมีขึ้นต่อไปใน
               อนาคต 84


                     ด้านหัวคะแนนซึ่งในอดีตถูกให้ความหมายในแง่ของการเป็นผู้นำเงินจากผู้สมัครไปจ่ายให้กับประชาชน
               เพื่อเป็นการซื้อเสียง แต่ในปัจจุบันหัวคะแนนเหล่านี้ได้รับการยกระดับให้ทำหน้าที่ประสานงาน และในบางครั้ง

               มีบทบาทร่วมกับผู้สมัครในการวางแผนการหาเสียงและคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นกลุ่มผู้สนับสนุน ทั้งนี้กลุ่มคน
               ที่เข้ามาเป็นหัวคะแนนเดิมที่เคยอยู่ในกลุ่มของผู้นำชุมชนที่มีตำแหน่งที่เป็นทางการ ได้ขยายตัวออกมาอย่างมี
               ความหลากหลายมากขึ้น  ด้วยเงื่อนไขของกฎหมายและการควบคุมของรัฐบาลที่สั่งการให้ข้าราชการและ
                                     85
               เจ้าหน้าที่รัฐวางตัวเป็นกลางเป็นผลให้ในบางพื้นที่คนกลุ่มนี้ไม่เคลื่อนไหวในการสนับสนุนผู้สมัครคนใด
               อย่างเปิดเผยมากนัก  ในทางตรงกันข้ามการประกาศให้นักการเมืองท้องถิ่นสามารถช่วยหาเสียงได้  ทำให้
                                                                                                   86
               กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มของคนที่เคยเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวในยุคความขัดแย้งระหว่าง
               เสื้อเหลือง-แดงกลับเข้ามามีบทบาททางการเมือง เนื่องจากการมีมวลชนและเครือข่ายทางการเมืองของตนเอง
               ในพื้นที่อยู่แล้ว


                     อย่างไรก็ตาม การเข้ามาเป็นหัวคะแนนให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งต่างๆ อาจมีเงื่อนไขและลักษณะของ
               การเข้ามาทำงานที่แตกต่างกันไป เช่น การรู้จักกับผู้สมัครเป็นการส่วนตัวและทำงานให้ในฐานะหัวคะแนน
               มาเป็นระยะเวลานานและบางกรณีเป็นการถ่ายโอนการทำหน้าที่จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก  ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง

               อาจเข้ามาทำงานเพราะได้รับการทาบทามจากเครือข่ายของผู้สมัคร ซึ่งหัวคะแนนในลักษณะนี้ไม่ได้มี
               ความผูกพันกับผู้สมัครมากนัก และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รับการเลือกให้มา

               เป็นหัวคะแนนอีกหรือไม่ และด้วยข้อจำกัดของจำนวนคนที่มีบทบาทนำในพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมา ทำให้เกิด


               
     84   เจริญ สุทธิประภา, นายกเทศมนตรีตำบลท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (27 มกราคม 2562).
               
     85   โกวิท อ่อนประทุม, อ้างแล้ว.
               
     86   “ไฟเขียวผู้บริหารท้องถิ่นกว่า 7,000 แห่ง ช่วย “พรรคการเมือง-ผู้สมัคร ส.ส.” หาเสียงเต็มที่ เว้น ขรก.เน้นปฏิบัติตาม
               มติ  ครม”, สืบค้นจาก https://mgronline.com/politics/detail/9620000018836 (23 กุมภาพันธ์ 2562).








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141