Page 133 - kpiebook63001
P. 133

115






               ผู้จัดทำหรือผู้รับผิดชอบเนื้อหาในการนำเสนอ จากภาพที่ 4.2 แสดงเฟสบุคเพจในชื่อพรรคอนาคตใหม่จังหวัด

               ร้อยเอ็ด ซึ่งมีผู้ติดตามเพียง 479 คน  ในขณะที่เฟสบุคเพจอนาคตใหม่ FC ร้อยเอ็ด มีผู้ติดตาม 1,125 คน
               ชี้ให้เห็นว่า การหาเสียงหรือสร้างความนิยมจากการนำเสนอนโยบายและความเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง

               ผ่านสื่อออนไลน์ของพรรคการเมืองจากส่วนกลาง มีอิทธิพลต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าเนื้อหาหรือพื้นที่สื่อ
               ที่ผลิตโดยผู้สมัครในเขตเลือกตั้งโดยตรง โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ลงคะแนนเสียงครั้งแรกและผู้ที่ไม่ได้มี
               ประสบการณ์ทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งของตนเองมากนัก


                      ภาพที่ 4.2 แสดงตัวอย่างเพจ (Facebook Page) ของพรรคอนาคตใหม่จังหวัดร้อยเอ็ด 73
                                                และอนาคตใหม่ FC ร้อยเอ็ด 74























                     กล่าวได้ว่า คะแนนที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้ส่งผลต่อการปรับตัวของ

               พรรคการเมืองต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์มองว่าพรรคจำเป็นต้อง
               พัฒนาการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และยกระดับการใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยทั้งในการสร้างช่องทางและ
               การผลิตเนื้อหา ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและกระแสสังคมที่เกิดขึ้น  ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
                                                                           75
               มีความเห็นว่า ความสำเร็จของพรรคอนาคตใหม่ทำให้การทำงานในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง
               เครือข่ายที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงานร่วมกับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ ซึ่งการมีเครือข่ายผู้สนับสนุนพรรค

               ที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มอายุจะทำให้การทำงานในพื้นที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น  เป็นต้น
                                                                                76
                     ข้อสังเกตที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพฤติกรรมการเลือกตั้งในครั้งนี้เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกบนฐาน

               ของความนิยมต่อพรรคการเมือง ก็คือ ความหลากหลายในเรื่องความคิด ความนิยมและการตัดสินใจในการ
               ลงคะแนนเลือกตั้งที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับครอบครัว อาทิเช่น ในครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่ลงคะแนนให้พรรค
               เพื่อไทยหรือพลังประชารัฐ ในขณะที่รุ่นลูกเลือกพรรคอนาคตใหม่โดยไม่สนใจผู้สมัครของพรรคในเขตเลือกตั้ง

               ของตนแต่อย่างใด แม้แต่ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้สมัครของพรรคการเมืองใด ก็ยังตัดสินใจลงคะแนนเลือก

                     73   https://www.facebook.com/futureforwardpartyForRoiet/
               
     74   https://www.facebook.com/tonfdadmin

                     75   นภาพร พวงช้อย, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์, สัมภาษณ์ (3 มิถุนายน
               2562).
               
     76   จิราพร สินธุไพร, อ้างแล้ว.





                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138