Page 131 - kpiebook63001
P. 131

113






               4.3 การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง





                     การหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครได้มีการพัฒนาเนื้อหา รูปแบบและช่องทางในการสื่อสารกับ

               ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงซึ่งความแตกต่างด้านอายุและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความแพร่หลาย
               อันเนื่องมาจากความนิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถทำให้การเข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เนท
               สามารถเข้าถึงได้ง่ายที่พัฒนาจากการติดต่อในครอบครัวไปสู่ระดับชุมชน และขยายวงขึ้น ซึ่งการใช้ประโยชน์

               จากสื่อสังคมออนไลน์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งถูกนำมาใช้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การเผยแพร่ข่าวสาร
               ความเคลื่อนไหวของผู้สมัครและกิจกรรมของพรรคผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook  อีกลักษณะหนึ่ง

               คือ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Line มาใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้สมัคร เครือข่ายที่ช่วย
               รณรงค์หาเสียง และประชาชนในกลุ่มที่ให้ความนิยม

                     นอกจากนี้ ผู้สมัครส่วนหนึ่งยังเน้นการเผยแพร่สื่อหาเสียงทาง Line ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากได้

                                                                                                         60
               ผลดีทั้งในด้านความสะดวก ไม่มีค่าใช้จ่ายและง่ายต่อการเพิ่มสมาชิกในกลุ่มและการเผยแพร่ต่อในวงกว้าง
               ซึ่งการใช้ Line จะได้ผลดีในแง่ของการกำหนดและระบุตัวตนของผู้รับสารได้อย่างแน่นอน ส่วนการใช้

               Facebook ถูกให้ความสำคัญเพื่อการรับรู้เป็นหลัก ในขณะที่การตื่นตัวของประชาชนถูกกระตุ้นจาก
               การนำเสนอผ่านข่าวหรือรายการโทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ แต่การหาเสียงเป็นการสร้างการรับรู้และ
               ทำความรู้จักกับผู้สมัคร ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการทำสื่อหรือสร้างสรรค์เนื้อหาผ่านช่องทางต่างๆ เป็นจำนวนมาก

               แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันได้ว่าจะชนะการเลือกตั้งได้
                                                          61
                     จากตารางที่ 4.6 แสดงจำนวนการนำเสนอเนื้อหาบนเฟสบุคเพจ (Facebook Page) ของผู้สมัครที่นำมา

               เป็นตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ รณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของผู้สมัคร
               ในการหาเสียงเลือกตั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 – 23 มีนาคม 2562 พบว่า ผู้สมัครให้ความสำคัญกับ

               การนำเสนอกิจกรรมการลงพื้นที่ของตนเองมากกว่าการนำเสนอนโยบายหาเสียงของพรรค นอกจากนี้ยังพบว่า
               คะแนนที่ผู้สมัครได้รับในการเลือกตั้งนั้นมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ติดตามในเฟสบุคเพจ (Facebook Page)
               ที่จัดทำขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครถึงผลของการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับคะแนนเสียงในการ

               เลือกตั้งว่า การลงพื้นที่ของผู้สมัครและการรับสารจากสถานีโทรทัศน์ช่องหลัก ส่งผลต่อการรับรู้ของประชาชน
               ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ในต่างจังหวัดมากกว่าสื่อสังคมออนไลน์ แต่จำเป็นต้องมีช่องทางนี้ไว้เพื่อเป็น

                                                                              62
               การประชาสัมพันธ์และรองรับการเข้าถึงของประชาชนที่มีต่อสื่อแบบนี้   ตัวอย่างจาก ผู้สมัครบางคน
               ของพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่ไม่มีทุนในการหาเสียงหรือลงพื้นที่ใช้วิธีโทรศัพท์ไปหาเสียงจากเครือญาติและ
               ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลงสมัครของตนโดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกเข้าสู่



                     60   จำรัส สรสาร, อ้างแล้ว.
               
     61   ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย, อ้างแล้ว.

               
     62   ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย, อ้างแล้ว และจิราพร สินธุไพร, อ้างแล้ว








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136