Page 127 - kpiebook63001
P. 127

109






               เนื่องจากผลของการเลือกตั้งครั้งนี้ ถูกมองว่าอาจจะนำไปสู่การมีรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นการนำนโยบาย

               ที่หาเสียงไว้ไปปฏิบัติอาจเกิดขึ้นได้ยาก

                     ด้านการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของฐานคะแนนนิยมของผู้สมัครที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัด

               ร้อยเอ็ดจากตารางที่ 4.5 แสดงการเปรียบเทียบคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550,
               2554 และ 2562 ของผู้สมัครและเครือญาติที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง พบว่า มีข้อสังเกตบางประการ กล่าวคือ

               การเลือกตั้งระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2562 อยู่ภายใต้สถานการณ์และบรรยากาศทางการเมืองที่แตกต่างกันไป
               รวมไปถึงเงื่อนไขและรูปแบบของการจัดการการเลือกตั้ง การกำหนดเขตเลือกตั้งและระบบการเลือกตั้ง
               ที่แตกต่างไปเช่นกัน โดยภาพรวมเห็นได้ว่าคะแนนของนักการเมืองในแต่ละปีการเลือกตั้งลดลงอย่างค่อยเป็น

               ค่อยไป แม้แต่พรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคที่มีบทบาทนำและชนะการเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด ไม่ต่างจาก
               นักการเมืองที่ลงสมัครโดยเปลี่ยนพรรคการเมืองที่สังกัดในการเลือกตั้งแต่ละครั้งที่มีระดับคะแนนลดลง เช่น

               สานิต ว่องสัธนพงษ์ อนิวรรตน์ วรเชษฐ์ และตวงรัตน์ วงศ์เวไนย ซึ่งย้ายจากพรรคที่เคยสังกัดเดิมมาสังกัด
               พรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้  ต่อมาคือ กรณีของนายเกษม มาลัยศรี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งในปี
               พ.ศ. 2543 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เคยได้คะแนน 11,147 คะแนน ภายใต้สังกัดของพรรค

               มัชฌิมาธิปไตย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท
               ได้คะแนนเพียง 406 คะแนน เช่นเดียวกับนางสาววาสินีพร พลเยี่ยม ที่การเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2550 สังกัด

               พรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้คะแนน 3,222 คะแนน ในขณะที่การลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 สังกัด
               พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนเพียง 462 คะแนน

                     ตัวอย่างนักการเมืองที่สังกัดพรรคเดิมมาโดยตลอด ก็มีผลคะแนนในการเลือกตั้งแต่ละครั้งลดลง

               อย่างเห็นได้ชัด เช่น ทินกร อ่อนประทุม ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ได้รับ
               คะแนนเพิ่มขึ้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 แต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ได้รับคะแนนเสียงลดลงมากกว่า
               หนึ่งหมื่นคะแนน ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าฐานเสียงของผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้สถานการณ์

               การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาจากประชาชนที่นิยมพรรคเป็นหลัก แม้ว่าผู้สมัครของพรรคจะเคยเป็น
               แนวร่วมหรือแกนนำในการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มใดก็ตาม มวลชนเหล่านี้ไม่ได้มีอิทธิพลมากนัก

               ต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่ากับประชาชนที่นิยมต่อพรรค
               ประชาธิปัตย์ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีความแตกต่างจากกลุ่มมวลชนในภาคใต้ ประกอบกับการลงพื้นที่และ
               ความใกล้ชิดของผู้สมัครต่อประชาชนในเขตเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดหรือสร้างหลักประกันได้ว่าเมื่อมี

               การเลือกตั้งประชาชนจะลงคะแนนให้กับผู้สมัคร กรณีของนายทินกร อ่อนประทุม ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักการเมือง
               ที่ลงพื้นที่พบปะประชาชนและร่วมกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.อบจ.

                                                                  57
               แต่กลับไม่สามารถชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้





               
     57   นภาพร พวงช้อย,ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์, สัมภาษณ์ (3 มิถุนายน
               2562) และ โกวิท อ่อนประทุม, อ้างแล้ว.









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132