Page 123 - kpiebook63001
P. 123

105






               เลือกตั้งนอกเขตจังหวัดผู้ลงคะแนนไม่รู้จักหรือทราบชื่อผู้สมัครในเขตเลือกตั้งของตนเอง แต่มุ่งไปที่การเลือก

               พรรคการเมืองเป็นสำคัญ ลักษณะเช่นนี้เป็นผลมาจากการมีความรู้และความสนใจทางการเมืองมากขึ้น ทั้งยังมี
               ความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น  แม้ว่าจะมีความกังวลต่อนโยบายประชานิยมที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย

               ต่อประเทศ  แต่ถ้านโยบายเหล่านั้นไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ก็จะได้รับความสนใจจากกลุ่ม
               คนรุ่นใหม่ไม่มากนัก 41


                     อย่างไรก็ดี การยุบพรรคไทยรักษาชาติ ไม่ส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัด
               ร้อยเอ็ดมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆ ที่มีการณรงค์หาเสียงหรือกระแสของ
               การเทคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคอนาคตใหม่ 42

                                   43
               เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา  หรือการรณรงค์ให้ลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดมากกว่าผู้สมัครจากพรรคอื่นเพื่อหวังผล
                                                                                       44
               ให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เช่น กรณีของจังหวัดแพร่  เป็นต้น เนื่องมาจาก
               จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลงสมัครรับสมัครเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งและล้วนแล้วแต่
               เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในกรณีของผู้สมัครเขต 5 ซึ่งแม้จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่แต่ก็เป็นผู้สมัคร
               ที่มีฐานเสียงเดิมเหนียวแน่น จึงกล่าวได้ว่า สำหรับจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว การยุบพรรคไทยรักษาชาติไม่ส่งผลต่อ

               คะแนนเสียงของพรรคการเมืองใดทั้งต่อพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่หรือพรรคการเมืองอื่นๆ ดังที่
                                                                            45
               เกิดขึ้นใน 100 เขตเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง  ประกอบกับผู้สมัครของพรรคไทย
               รักษาชาติทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง ล้วนแล้วแต่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ทั้งสิ้น ทำให้ไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ จากผู้สมัคร
               แบบแบ่งเขตของพรรคไทยรักษาชาติในจังหวัดร้อยเอ็ดภายหลังมีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญให้มี
               การยุบพรรคแต่อย่างใด


               (2) การลงคะแนนเลือกแบบเน้นผู้สมัคร

                     ชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ของนายอนุรักษ์ จุรีมาศ จากพรรคชาติไทยพัฒนา
               เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงการตัดสินใจลงคะแนนเลือกที่มุ่งเน้นคุณลักษณะของผู้สมัครเป็นสำคัญ จากแผนภาพ

               ที่ 4.6 ที่นำเสนอข้างต้นแสดงให้ว่าคะแนนที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับในเขตเลือกตั้งที่ 1 กับเขตเลือกตั้งอื่นๆ
               มีความแตกต่างกันมาก เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับในแต่ละเขตที่มีลักษณะอยู่ในระดับ

               คะแนนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 ลงคะแนนเลือกนายอนุรักษ์จาก


                     41   จิรวรรณ สิทธิศักดิ์, ประธานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (31 พฤษภาคม 2562).

               
     42   “จับตา! ใครคว้าพุงปลาจากพรรคไทยรักษาชาติ”, สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/277795
               (17 กุมภาพันธ์ 2562).
               
     43   “เจาะสนามเลือกตั้ง : ฉะเชิงเทรา”, สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/278632 (22 มีนาคม 2562).
               
     44   “จับตาแพร่แห่โหวตโนเข็น ’วรวัจน์-ทศพร’เข้าสภา”, สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/31108
               (12 มีนาคม พ.ศ. 2562).
               
     45   ดูรายละเอียดเขตเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัคร ใน “อาฟเตอร์ช็อก ยุบ“ไทยรักษาชาติ” ดับฝันเกมฮั้ว “เพื่อไทย”
               อ่วม “100เขต” อันตรธาน !” , สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/69725 (16 มีนาคม 2562).










                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128