Page 120 - kpiebook63001
P. 120
102
พรรคอนาคตใหม่
คะแนนจำนวนมากที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับในฐานะพรรคการเมืองใหม่และผู้สมัครที่ไม่ได้มีการสะสม
ฐานคะแนนเสียงมาก่อน อยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่ามาจากกลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก (First-time
25
voters New Voter) รวมไปถึงประชาชนที่ต้องการทางเลือกใหม่และสนับสนุนจุดยืนของพรรคในการต่อต้าน
เผด็จการ ซึ่งในช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งนั้น บางเขตเลือกตั้งผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ดำเนินการ
26
รณรงค์หาเสียงน้อยมาก ซึ่งในบางพื้นที่มีเพียงป้ายและรถแห่หาเสียงจำนวนไม่มาก ประกอบกับผู้สมัคร
ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ มีเพียงว่าที่ ร.ต. ร่วมภูมิศักดิ์ พลเยี่ยม ซึ่งเป็นอดีต ส.อบจ.ร้อยเอ็ด และ
27
เคยทำงานการเมืองร่วมกับนายเอกภาพ พลซื่อ รวมทั้งนายจำรัส สรสาร ที่แม้จะเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น
มาก่อนแต่ก็ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนเองไม่ได้มีฐานเสียงโดยตรง รวมไปถึงผู้สมัครของในเขตเลือกตั้งที่ 4
28
นางสุภาพ ติณรัตน์ หรือ “หมอลำสุภาพ ดาวดวงเด่น” ที่เป็นนักแสดงหมอลำชื่อดังของภาคอีสานและ
29
ได้รับการสนับสนุนจากพรรคให้ร่วมการปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายของพรรคก่อนการเลือกตั้งที่กรุงเทพมหานคร
ในฐานะตัวแทนของผู้สมัครจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งนำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ต้องได้รับ
การเปลี่ยนแปลง 30
ทั้งนี้ พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคที่อยู่ในคะแนนสูงสุดสี่อันดับแรกในทุกเขตเลือกตั้ง โดยได้รับเลือกตั้ง
เป็นอันดับที่ 2 ในเขตเลือกตั้งที่ 5 และ 7 ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 2, 3 และ 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3
โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 นายอัมพร พัสดร ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเคยเป็นสาธารณสุขอำเภอเมือง
ร้อยเอ็ดที่มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ได้รับการเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 4 ด้วยคะแนน
31
14,263 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดของพรรคที่ได้รับในเขตเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยเขตเลือกตั้งที่ได้รับ
คะแนนต่ำสุด คือ เขตที่ 7 จำนวน 11,802 คะแนน ด้านการนำเสนอนโยบาย กล่าวได้ว่า พรรคอนาคตใหม่
มุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงประเทศ ผ่านแนวทางการยุติการสืบทอดอำนาจของ คสช. การรัฐประหาร และ
การเมืองแบบเก่า สำหรับนโยบายที่ถูกนำเสนอในระหว่างการปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก็คือ แนวคิด
อีสานคืนถิ่น ที่มุ่งเน้นการสร้างงาน การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิด
25 ดูรายละเอียด อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ คณะ, รายงานผลเบื้องต้นของการสำรวจ: การเลือกตั้งและทัศนคติต่อ
ประชาธิปไตย และการเมืองไทยของผู้เลือกตั้งครั้งแรก (First-time voters), สืบค้นจาก http://www.polsci.tu.ac.th/
fileupload/529/900.pdf (15 มิถุนายน 2562).
26 โกวิท อ่อนประทุม, อ้างแล้ว.
27 สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (16 เมษายน 2562).
28 ขวัญใจ ตระกูลศรี, อ้างแล้ว และ จำรัส สรสาร, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 2 พรรคอนาคตใหม่,
สัมภาษณ์ (20 พฤษภาคม 2562).
29 “แม่สุภาพ หมอลำตำนานอีสาน ฟันฝ่าชีวิต เรียนจบ ป.เอก ลง ส.ส.อนาคตใหม่ ร้อยเอ็ด”, สืบค้นจาก https://
www.khaosod.co.th/election-2019/news_2273408 (26 มีนาคม 2562).
30 “สุภาพ ติณรัตน์ : ปราศรัยใหญ่พรรคอนาคตใหม่ครั้งสุดท้ายก่อนเข้าคูหา”, สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=waW1qeAAZPA (26 มีนาคม 2562).
31 จิรวรรณ สิทธิศักดิ์, ประธานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (31 พฤษภาคม 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด