Page 122 - kpiebook63001
P. 122
104
ผลคะแนนที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าอาจไม่มีการแทรกแซงหรือสั่งการใดๆ ในช่วงของการลงคะแนนเลือกตั้ง
หรือมีการกระทำการใดๆ ที่มีผลต่อการลงคะแนนของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของทหาร
ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายทหาร ทั้งนี้ ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐมีความเห็นว่ากระแสข่าวถึง
การได้เปรียบในการเลือกตั้งและการโจมตีพรรคพลังประชารัฐในลักษณะต่างๆ ส่งผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์
และเป็นอุปสรรคในการสร้างคะแนนนิยม เนื่องจากการสร้างความเกลียดชังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการสร้าง
ความรักและศรัทธาโดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ 36
นอกจากกรณีศึกษาของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคข้างต้นแล้ว ยังพบว่า การอภิปรายด้านนโยบาย
พรรคการเมืองซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งนั้น เป็นช่องทางการเผยแพร่และการรณรงค์ที่สำคัญ
ที่ทำให้พรรคการเมืองมีช่องทางในการนำเสนอนโยบายและหาเสียงผ่านสื่อสาธารณะซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่และพรรคการเมืองขนาดเล็กอื่นๆ ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชน
ดังเช่น ความสนใจต่อพรรคเศรษฐกิจใหม่หลังจากที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ได้นำเสนอถึงนโยบายที่เน้น
37
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงบุคลิกและการนำเสนอจุดยืนทางการเมืองของหัวหน้าพรรค เช่น
พรรคเสรีรวมไทย ที่นำโดย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นต้น 38
ความสนใจต่อพรรคการเมืองเหล่านี้ลดลงไปเมื่อใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ความสำคัญของ
นโยบายถูกพูดถึงน้อยกว่าทางเลือกทางการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล คสช.และฝ่ายที่ต่อต้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์ที่กระแสความนิยมของพรรคมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจาก
การลงพื้นที่ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ประกอบกับผู้สมัครของพรรคเน้นการลงพื้นที่
พบปะประชาชนทุกครัวเรือน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี แต่ในสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งเมื่อมีการประกาศ
จุดยืนของหัวหน้าพรรคในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ความนิยมของพรรคลดลง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์
39
ก็แสดงท่าทีชัดเจนในอีกด้านหนึ่งว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทย 40
ในด้านการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนการเลือกตั้งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีการตั้งข้อสังเกตว่า
คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับนโยบายโดยไม่ให้ความสำคัญกับผู้สมัครในฐานะตัวบุคคล ดังจะเห็นได้ว่า ในการ
36 “แม้การเมืองจะสู้กันด้วยอำนาจและสู้กันด้วยทุน แต่อีกด้านหนึ่ง การเมืองก็ต้องสู้ด้วยอุดมการณ์และต้องสู้ด้วยความเชื่อ
การที่จะอยู่พรรคฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้อำนาจหรือเงินเลย ในอีกแง่หนึ่งมันก็ไม่ได้หมายความว่าพรรคอื่นจะไม่มี
อุดมการณ์หรือความคิดความเชื่อของเขาเลยเช่นกัน” ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 4
พรรคพลังประชารัฐ, สัมภาษณ์ (18 เมษายน 2562).
37 “หาเงินเข้าประเทศได้อย่างไร มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พรรคเศรษฐกิจใหม่”, สืบค้นจาก https://www.youtube.com/
watch?v=C79kpfFL2mY (26 พฤษภาคม 2562) และ ปุณณ์ปวีร์ เขตวิจารณ์, อ้างแล้ว.
38 ปุณณ์ปวีร์ เขตวิจารณ์, อ้างแล้ว และ สัมพันธ์ บุตรพรม, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5 พรรค
เสรีรวมไทย, สัมภาษณ์ (17 พฤษภาคม 2562).
39 “อภิสิทธิ์ ประกาศจุดยืนไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ แต่อาจร่วม พปชร.”, สืบค้นจาก https://news.thaipbs. or.th/content/
278329 (11 มีนาคม 2562).
40 นภาพร พวงช้อย, อ้างแล้ว.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด