Page 117 - kpiebook63001
P. 117

99






               คะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พรรคยังได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่  แม้จะถูกยุบ
                                                                                              19
               พรรคไปถึงสองครั้งและมีอุปสรรคในการทำกิจกรรมทางการเมืองช่วงระยะเวลาหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา
               แต่หลายนโยบายยังมีการดำเนินการต่อไปอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และ

               กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น แม้จะมีการยกระดับหรือพัฒนาการดำเนินนโยบายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในรัฐบาล
                                                                                                         20
               อื่นๆ แต่ประชาชนก็ยังจดจำว่านโยบายเหล่านี้เป็นผลงานที่ผลักดันโดยทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย
               ประกอบกับการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความแตกต่างในศักยภาพด้านการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเป็นประเด็น

               ปัญหาที่ได้รับการพูดถึงในวงกว้างที่ประชาชนรับรู้ได้จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของตนเอง โดยเฉพาะ
               อย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกรอันเป็นภาคการผลิตหลักในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งปรากฏให้เห็นในเนื้อหาของ

               การปราศรัยของพรรคเพื่อไทยที่เน้นในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยที่ผ่านมา
               และตอกย้ำในเรื่องความถดถอยของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันได้ส่งผลต่อคะแนนเสียง
               เลือกตั้งอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้


                     ตัวอย่างเขตเลือกตั้งที่ 3 แม้นายเอกภาพ พลซื่อ จะเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่
               แต่เมื่อต้องตัดสินใจลงคะแนนเสียงที่ส่งผลต่อการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ

                                                       21
               ประกอบกับความนิยมต่อพรรคเพื่อไทยยังมีอยู่  จึงทำให้คะแนนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งผลคะแนน
               ในเขตเลือกตั้งที่  5 นอกจากเป็นการยืนยันถึงความนิยมต่อพรรคเพื่อไทยทั้งจากความทรงจำที่เป็นพื้นที่

               ที่นำไปสู่ “อาจสามารถโมเดล” ในการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งแม้จะเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
               แต่กลายเป็นความจดจำที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาลงพื้นที่และกินอยู่กับชาวบ้าน  จึงอาจ
               กล่าวได้ว่า ทักษิณและนโยบายของพรรคยังเป็นความทรงจำของคนในพื้นที่นั่นเอง
                                                                                  22






                     19   Keefer (2007) เสนอว่า ชนชั้นนำทางการเมืองในประเทศประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ (younger democracies) นั้น บ่อยครั้ง
               ที่ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พันธสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งได้ และยังมีแนวโน้มที่จะมุ่งให้ผลประโยชน์แก่กลุ่มคนของผู้มี
               สิทธิเลือกตั้งที่เป็นกลุ่มเฉพาะมากกว่าการกระจายทรัพยากรสาธารณะให้แก่ประชาชนในวงกว้าง ซึ่งในประเด็นนี้ได้รับการโต้แย้งโดย
               Kitschelt and Kselman (2012) โดยยกตัวอย่างกรณีของอินโดนีเซียและประเทศไทย ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ระบบอุปถัมภ์ยังเป็นวิธีการสำคัญ
               ในการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดูรายละเอียดใน Keefer, P. (2007) ‘Clientelism, Credibility, and the
               Policy Choices of Young Democracies’, American Journal of Political Science, 51 (4): 804–821, Kitschelt, H. and
               Kselman, D., (2012) , “Economic Development, Democratic Experience, and Political Parties’ Linkage Strategies”.
               Comparative Political Studies 46, (11) pp.1453–1484 และ Dirk Tomsa and Andreas Ufen, (2013), Party Politics in
               Southeast Asia Clientelism and electoral competition in Indonesia, Thailand and the Philippines,
               (Abingdon: Routledge).

               
     20   โกวิท อ่อนประทุม,อ้างแล้ว.
               
     21   ปุณณ์ปวีร์ เขตวิจารณ์, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดเขต 3 พรรคเศรษฐกิจใหม่, สัมภาษณ์
               (26 พฤษภาคม 2562).
               
     22   เดชศักดิ์ โพธิ์ศรี,สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเสลภูมิ เขต 1 และ ผู้จัดรายการ “คุยข่าวเช้านี้”
               FM 102.50, สัมภาษณ์ (23 พฤษภาคม 2562).









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122