Page 115 - kpiebook63001
P. 115

97






                       ส่วนเขตเลือกตั้งอื่นๆ ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 4 นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ จากพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน

               มากกว่านางสาว ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นจำนวน 31,664 คะแนน อย่างไรก็ดี
               เขตเลือกตั้งที่ 5 ซึ่งนางสาวจิราพร สินธุไพร ได้คะแนนสูงสุดในจังหวัดดังที่ได้กล่าวมา ทั้งยังมีช่วงคะแนน

               ห่างจากผู้สมัครที่ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 2 คือ นาย ทินกร ปิยะวงษ์ณรัตน์ จากพรรคอนาคตใหม่ ถึง
               47,670 คะแนน  ทั้งนี้ นายเฉลิมศักดิ์ แสนปาง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนนมาเป็นอันดับที่สาม
               ได้คะแนนเพียง 9,686 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นเขตที่ได้คะแนนน้อยที่สุดของพรรคพลังประชารัฐ ส่วนเขตเลือกตั้ง

               ที่ 6 นายกิตติ สมทรัพย์ จากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงมากกว่านาย ชำนาญ โพธิคลัง ผู้สมัครจากพรรค
               อนาคตใหม่ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับที่สองจำนวน 38,409 คะแนน โดยที่นาย อนิวรรตน์ วรเชษฐ์ ผู้สมัครจาก

               พรรคพลังประชารัฐซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเป็นอันดับที่สามจำนวน 13,801 คะแนน
               ด้านเขตเลือกตั้งที่ 7 ซึ่งนายศักดา คงเพชร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนมากกว่าผู้สมัครที่ได้คะแนน
               อันดับที่สอง คือ นาย ชัชวาล แพทยาไทย จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นจำนวน 33,025 คะแนน


                     (2) เขตเลือกตั้งที่ผู้ชนะการเลือกตั้งไม่มีคะแนนนำแบบเด็ดขาด หมายถึง เขตเลือกตั้งที่ผู้ที่ได้รับ
               การเลือกตั้งได้คะแนนมากกว่าผู้สมัครที่มีจำนวนคะแนนรองลงมาไม่มากนัก ซึ่งเป็นเขตที่มีระดับการแข่งขัน

               สูงมากระหว่างผู้สมัครที่มีฐานเสียงหนาแน่นในพื้นที่ ซึ่งมีเพียงเขตเลือกตั้งเดียวในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่
               เขตเลือกตั้งที่ 3 ซึ่งนายนิรมิต สุจารี จากพรรคเพื่อไทย ได้คะแนนมากกว่านายเอกภาพ พลซื่อ ผู้สมัครจาก

               พรรคพลังประชารัฐ เพียง 4,670 คะแนน ซึ่งในเขตเลือกตั้งที่ 3 นี้ นายนิรมิต สุจารี ได้ถูกร้องเรียนจากฝ่ายตรงข้าม
               จำนวน 6 กรณี ในเรื่องการกระทำความผิดเรื่องการซื้อเสียงเลือกตั้งและการปราศรัยเพื่อปลุกระดม ข่มขู่
               และใช้ถ้อยคำหยาบคาย ซึ่งนายนิรมิตได้ทำการชี้แจงและอยู่ในระหว่างการรอผลพิจารณาของสำนักงาน

               คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 17

               ลักษณะที่ 2 ทางเลือกของการลงคะแนนเสียง

                     แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ กล่าวคือ

               (1) การลงคะแนนเลือกแบบเน้นพรรคการเมือง

                     ผลจากการปฏิรูปการเมืองผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังจาก

               นั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความนิยมของพรรคไทยรักไทยจากการนำนโยบายที่หาเสียงไว้มา
               ปฏิบัติเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแบบแผนในการลงคะแนนเสียง

               เลือกตั้งของประชาชน ที่อิทธิพลต่อความนิยมที่มีต่อพรรคเป็นปัจจัยที่มีผลสำคัญมากกว่าตัวผู้สมัคร โดยเฉพาะ
               อย่างยิ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังเห็นได้จากการปรับตัวของพรรคการเมืองต่างๆ ที่หันมาให้
               ความสำคัญกับการผลิตและนำเสนอนโยบายต่างๆ ของพรรคอย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผลคะแนนในการเลือกตั้ง

               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ดดังที่ได้นำเสนอมา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพรรคการเมือง
               ในฐานะปัจจัยที่ผู้ลงคะแนนเสียงใช้ในการตัดสินใจเลือก ดังพิจารณาได้จากคะแนนของพรรคการเมืองที่ได้

               คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่


               
     17   นิรมิต สุจารี, อ้างแล้ว.







                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120