Page 116 - kpiebook63001
P. 116

98






                     พรรคเพื่อไทย


                     จากตารางที่ 4.3 แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ได้รับความนิยมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
               นับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ตั้งแต่เป็นพรรคไทยรักไทยจนถึงปัจจุบันและส่วนใหญ่ยังเป็นผู้สมัคร
               คนเดิมหรือกลุ่มเดิม แม้ว่าผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยในบางเขตเลือกตั้งจะได้รับการวิจารณ์เกี่ยวกับการทำงาน

               และการรักษาความผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ในช่วงเวลาของการไม่ได้มีตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                                            18
               หรือแม้แต่ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น  แต่ความนิยมที่ประชาชนมีต่อพรรคยังคงมีความเหนียวแน่นแม้ว่าจะมี
               ระดับคะแนนลดลงไปในแต่ละเขตเลือกตั้งก็ตาม (ดูตารางที่ 4.4)

               ตารางที่ 4.3 แสดงการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2562


                            พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง (จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้ง)

                        2548                   2550                   2554                  2562
                  พรรคไทยรักไทย (6/8)   พรรคพลังประชาชน (7/8)    พรรคเพื่อไทย (8/8)    พรรคเพื่อไทย (6/7)

                   พรรคชาติไทย (2/8)     พรรคเพื่อแผ่นดิน (1/8)   พรรคชาติไทยพัฒนา (1/7)


                     ปัจจัยที่ทำให้พรรคเพื่อไทยยังคงครองบทบาทนำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิก

               สภาผู้แทนราษฎรได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน แม้ว่าตลอดระยะเวลาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
               พรรคเพื่อไทยและนักการเมืองในสังกัดจะลดบทบาทในพื้นที่สาธารณะของตนเองลงไปอย่างมาก แต่ผล

               การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลเบื้องหลังคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย อย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่

                     ประการที่ 1 พรรคเพื่อไทยในฐานะความหวังและความทรงจำ

                     เช่นเดียวกับภาพรวมของภาคอีสานที่มีต่อความนิยมในพรรคเพื่อไทย เนื่องจากผลงานในการดำเนิน

               นโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความนิยมต่ออดีตผู้นำพรรคเพื่อไทยนับตั้งแต่ดำเนิน
               กิจกรรมทางการเมืองในฐานะพรรคไทยรักไทยดังที่ได้กล่าวมา ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผลักดัน

               นโยบายที่หาเสียงไว้ไปปฏิบัติเป็นนโยบายรัฐบาล นั่นหมายถึงการรักษาพันธสัญญาหรือข้อตกลงต่อผู้ลง

















               
     18   ขวัญใจ ตระกูลศรี, อดีตแกนนำ นปช.จังหวัดร้อยเอ็ด และประธานพรรคอนาคตใหม่ จ.ร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (31 พฤษภาคม
               2562).









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121