Page 121 - kpiebook63001
P. 121

103






               การจ้างงานและเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นขึ้นมา ได้ถูกนำเสนอผ่านเวทีปราศรัยของพรรคและถ่ายทอดผ่าน

                      32
               สื่อต่างๆ
                     พรรคพลังประชารัฐ


                     แม้พรรคพลังประชารัฐจะเป็นพรรคใหม่ แต่การนำเสนอภาพลักษณ์และแนวทางของพรรคผ่าน
               ผู้นำพรรคที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ตลอดจนการใช้นโยบายหาเสียงที่ต่อยอดและดำเนินการตามแนวนโยบาย
               ของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายประชารัฐและการผลักดันงบประมาณต่างๆ ลงสู่พื้นที่ในระดับหมู่บ้าน

               ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่านโยบายของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคพลังประชารัฐใกล้เคียงกัน แม้พรรค
               พลังประชารัฐจะนำเสนอภายหลังแต่ปริมาณของทรัพยากรและระดับของการอุดหนุนให้แก่ประชาชนจาก

               การดำเนินนโยบายนั้น ๆ มีมากกว่า   เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ เมื่อรัฐบาลอุดหนุน
                                             33
               เงินผู้สูงอายุและเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้แก่ อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงเวลาก่อน
               การเลือกตั้งไม่นาน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจให้ผลที่ต่างไปจากพรรคเพื่อไทย เนื่องจากประชาชนที่ได้รับประโยชน์

               จากนโยบายจดจำว่าเป็นผลงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชามากกว่าการเป็นนโยบายหรือผลงาน
               ของพรรคพลังประชารัฐ  เป็นต้น
                                   34

                     ข้อสังเกตต่อคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐนั้น ผู้ที่นิยมนโยบายที่รัฐ
               ให้สวัสดิการในรูปแบบของค่าตอบแทนต่างๆ  ซึ่งประชาชนบางส่วนยังมีความเข้าใจว่า หากมีการเปลี่ยนแปลง
               รัฐบาลอาจส่งผลให้นโยบายต่างๆ หรือเงินสวัสดิการที่ประชาชนได้ประโยชน์ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะถูก

               ยกเลิกไป ซึ่งผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นๆ จะต้องทำความเข้าใจและอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่า ทุกรัฐบาล
               จำเป็นต้องรักษาและพัฒนานโยบายที่เป็นประโยชน์ ซึ่งในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุมีความพอใจ

                                                  35
               กับการได้รับเบี้ยยังชีพและบัตรประชารัฐ  แต่นโยบายประชารัฐของรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับ
               ชื่อของพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้สร้างความนิยมให้แก่ประชาชนได้มากนัก เพราะประชาชนทราบกันดีว่า
               เป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนรัฐบาลในปัจจุบัน


                     นอกจากนี้แล้วความได้เปรียบประการสำคัญของพรรคพลังประชารัฐที่ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
               ก็คือ การใช้กลไกข้าราชการตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงหมู่บ้านในการเป็นส่วนสนับสนุนการดำเนินงานในการ

               หาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการตามนโยบายเพื่อสร้างความนิยมให้แก่รัฐบาล รวมไปถึงการใช้แนวทาง
               แบบการเมืองที่เน้นการหาผู้สมัครที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือมีฐานเสียงเดิมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี



                     32   “ปิยบุตร” ชูนโยบาย “อีสานคืนถิ่น”, สืบค้นจาก https://www.newtv.co.th/news/30773 (4 มีนาคม 2562).

                     33   นภาพร พวงช้อย,ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์, สัมภาษณ์ (3 มิถุนายน
               2562).
                     34   โกวิท อ่อนประทุม, อ้างแล้ว.
                     35   ปุณณ์ปวีร์ เขตวิจารณ์, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคเศรษฐกิจใหม่, สัมภาษณ์
               (26 พฤษภาคม 2562).










                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126