Page 124 - kpiebook63001
P. 124

106






               คุณลักษณะส่วนบุคคลมากกว่าการเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง ปัจจัยของความสำเร็จในการเลือกตั้งของ

               นายอนุรักษ์ มีอย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ

                     ประการที่ 1 ผลงานและประสบการณ์ทางการเมือง


                     จากที่ได้นำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับตระกูลการเมืองและบทบาทของสมาชิกในตระกูลจุรีมาศที่มีความสำคัญ
               ในบทที่ 2 นายอนุรักษ์ จุรีมาศ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดหลายสมัย ซึ่งเป็นกรรมการ
               บริหารพรรคชาติไทยหรือชาติไทยพัฒนาในปัจจุบัน ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา

               สังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงวัฒนธรรม แม้นายอนุรักษ์จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                                                                                           46
               ที่ลงสมัครแข่งขันในการเมืองระดับชาติโดยไม่เคยผ่านการเมืองในระดับท้องถิ่นมาก่อน  แต่มีเครือข่าย
               สนับสนุนและร่วมกันทำงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งฐานเสียงสำคัญของนายอนุรักษ์ในเขตเมือง คือ เทศบาล
               เมืองร้อยเอ็ด ตลอดจนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจในพื้นที่ นอกจากนี้แล้ว แม้นายอนุรักษ์
               จะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองและไม่ได้มาร่วมกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ด้วยตนเอง แต่เครือข่ายและทีมงาน

               ยังมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  ลักษณะเช่นนี้ทำให้การไม่มีตำแหน่งทาง
                                                                     47
               การเมืองหรือการไม่ได้ลงพื้นที่ด้วยตนเองไม่ได้ก่อให้เกิดช่องว่างทางความสัมพันธ์ระหว่างนายอนุรักษ์กับ

               ประชาชนในพื้นที่แต่อย่างใด อีกทั้งยังพบว่า นายอนุรักษ์เป็นนักการเมืองที่มีการปรับตัวในการหาเสียงเลือกตั้ง
               ดังจะเห็นได้จากการให้ความสำคัญกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ผลงานและการลงพื้นที่
               พบปะประชาชน ทั้งการให้ความสำคัญกับเนื้อหาในการนำเสนอและความถี่ในการเพิ่มเนื้อหา โดยเฉพาะ

               การลงพื้นที่หาเสียงที่ครอบคลุมเขตการเลือกตั้ง

                     เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะและความโดดเด่นกับผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งขันที่มีความโดดเด่น เช่น

               นายวราวงษ์  พันธ์ศิลา ซึ่งเคยเป็นอดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด 2 สมัย  ที่แม้ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาจะอาศัยคะแนน
                                                                  48
               นิยมจากพรรคเพื่อไทยเป็นหลัก แต่ด้วยการประสบการณ์การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเพียง 2 สมัยและ

               ยังไม่มีผลงานในพื้นที่ที่เป็นที่จดจำของประชาชนเมื่อเปรียบเทียบกับนายอนุรักษ์  ประกอบกับในช่วงเวลาหลัง
               การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 นายวราวงษ์ได้ปิดสำนักงานเป็นการชั่วคราวและไม่ได้ลงพื้นที่มากนัก
                                                                                                        49


               
     46   ดูรายละเอียดใน ธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล , 2541, การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมืองไทย, วิทยานิพนธ์
               หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สติธร ธนานิธิโชติ, 2558, “ความได้เปรียบในสนามเลือกตั้ง
               ของทายาทตระกูล”, วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 45, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), หน้า 49-74.
               
     47   พระปลัดรัฐพงษ์ สิงห์สาธร,อ้างแล้ว.

               
     48   นายวราวงษ์ พันธ์ศิลา อดีตเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2538-2543 และในปี พ.ศ. 2544
               ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น ซึ่งการเลือกตั้ง
               ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 นายวราวงษ์ย้ายไปสังกัดพรรคมหาชน โดยได้รับคะแนนเพียง 1,735 คะแนนเท่านั้น จากนั้นในการเลือกตั้ง
               พ.ศ. 2550 ได้มาลงสมัครในสังกัดพรรคพลังประชาชนและได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกและต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ได้รับ
               การเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองในสังกัดพรรคเพื่อไทย

               
     49   จิรวรรณ สิทธิศักดิ์,ประธานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (31 พฤษภาคม 2562) และ ขวัญใจ
               ตระกูลศรี, อ้างแล้ว.








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129