Page 128 - kpiebook63001
P. 128
110
กรณีของ ว่าที่ ร.ต. ร่วมภูมิศักดิ์ พลเยี่ยม อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมต่อ
พรรคการเมืองที่นำไปสู่การได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ในการเลือกตั้ง
เมื่อปี พ.ศ. 2550 ร่วมภูมิศักดิ์ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาราช ซึ่งได้คะแนนเพียง
745 คะแนน ในขณะที่การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 ภายใต้สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนน 12,881 คะแนน
ขณะที่กรณีของนายสุทิน ลุยตัน อดีต ส.อบจ.ร้อยเอ็ด ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย สามารถรักษาระดับ
ฐานคะแนนเสียงของตนเองไว้ได้ในระดับที่ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ดังจะเห็นได้ว่าในการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทยได้คะแนน 7,217 คะแนน และในการเลือกตั้งปี
พ.ศ. 2562 ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,507 คะแนน
แม้ประสบการณ์การเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) มาก่อน จะมีผลงานใน
การผลักดันงบประมาณการพัฒนาต่างๆ มาลงในพื้นที่ซึ่งมีผลต่อการสร้างคะแนนนิยม แต่มีข้อสังเกตว่า
อดีตสมาชิกองค์กรบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ที่ลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในครั้งนี้ไม่มีใครสามารถชนะการเลือกตั้งได้ ได้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมองการเลือกตั้ง ส.อบจ. ต่างไปจาก
การลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยประชาชนให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด
มากกว่าคุณลักษณะ ความนิยมหรือผลงานที่ผู้สมัครได้ทำไว้ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ส.อบจ. ที่ประชาชนจะใช้
เป็นปัจจัยในการตัดสินใจในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น นอกจากนี้แล้ว อดีต ส.อบจ. มักจะได้คะแนนจากฐาน
เสียงเฉพาะในระดับเขตเลือกตั้งในอำเภอนั้นๆ ซึ่งการจะทำให้ได้รับคะแนนเสียงเพียงพอที่จะชนะเลือกตั้ง
ได้นอกเหนือจากการสังกัดพรรคที่ประชาชนให้ความนิยมแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายและทำงานในพื้นที่
ให้ครอบคลุมกับเขตเลือกตั้งที่มีขนาดและจำนวนประชากรที่มากกว่าเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.อบจ. 58
58 ประหยัด รินสาทร, ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ราชธานี อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (6 เมษายน 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด