Page 134 - kpiebook63001
P. 134
116
พรรคการเมืองที่ตนเองให้ความสนใจ นอกจากนี้ยังปรากฏภาพของการแสดงความสนใจทางการเมืองของผู้ลง
77
คะแนนรุ่นใหม่ ที่มีบทบาทของการกระตุ้นและถ่ายทอดแนวคิด ความเชื่อทางการเมืองของตนสู่สมาชิก
ในครอบครัว ซึ่งต่างไปจากเดิมที่ผู้ลงคะแนนเสียงครั้งแรกที่แม้มีความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
78
แต่มักไม่แสดงจุดยืนทางความคิดหรือจูงใจสมาชิกในครอบครัวให้เลือกพรรคที่ตนเองให้การสนับสนุน
4.4 หัวคะแนนและเงินในการเลือกตั้ง
ลักษณะทั่วไปในการอธิบายถึงเครื่องมือหรือกลไกในการเชื่อมโยงผู้สมัครและผู้ลงคะแนนในการเลือกตั้ง
79
ในอดีต ได้ให้ความสนใจไปที่การจัดตั้ง สร้างเครือข่ายและศักยภาพในการทำงานของหัวคะแนน ในการระดม
คะแนนเสียง เนื่องจากผู้สมัครไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทั่วทั้งพื้นที่เขตเลือกตั้ง
ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี แม้ภายใต้ระบบพรรคการเมืองที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของ
การปฏิรูปการเมืองในทศวรรษ 2540 และการเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา ประกอบกับการกระจาย
อำนาจที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการสร้างฐานคะแนนเสียงระหว่างพรรคการเมืองและการเมืองท้องถิ่น
80
เข้าด้วยกัน ซึ่งเวียงรัฐ เนติโพธิ์ อธิบายว่า มีลักษณะคล้ายจักรกลการเมือง (political machine) ในขณะที่
James Ockey ให้คำอธิบายว่าเงื่อนไขดังกล่าวนำไปสู่รูปแบบ การทำงานร่วมกัน (Teamwork) ที่การเมือง
81
ระดับชาติและท้องถิ่นต่างพึ่งพาทรัพยากรซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง
ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ผลจากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นนำไปสู่การควบคุมความเคลื่อนไหว
ทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของพรรคการเมือง
และนักการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลได้ให้ความสนใจและทำงานร่วมกับกลไกราชการตั้งแต่
ระดับจังหวัดถึงหมู่บ้านมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัวแสดงต่างๆ ภายใต้จักรกลการเมืองหรือเครือข่ายในความ
สัมพันธ์แบบทีมเดียวกันระหว่างพรรคการเมืองกับการเมืองท้องถิ่นที่เคยมีมาในอดีตที่เคยเกาะเกี่ยวกัน
มีลักษณะที่คลายตัวลงหรือเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในส่วนของพรรคหรือผู้สมัครที่แสดงท่าทีต่อต้าน
77 สัมพันธ์ บุตรพรม, อ้างแล้ว.
78 สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (16 เมษายน 2562).
79 ดูคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของเครือข่ายหัวคะแนนได้ใน Anyarat Chattharakul, (2010), “Thai
electoral campaigning: Vote-canvassing networks and hybrid voting”, Journal of Current Southeast Asian Affairs,
29(4), 67-95.
80 เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2558, หีบบัตรกับบุญคุณ: การเมืองการเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายอุปถัมภ์, (เชียงใหม่ :
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), หน้า 5 และดูคำอธิบายของเวียงรัฐ ต่อประเด็นเรื่องจักรกลการเมือง ในการศึกษาอิทธิพล
ในการเมืองท้องถิ่นไทย ได้ใน เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2543,“อิทธิพลในการเมืองท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีเมืองเชียงใหม่”, วารสาร
สังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 34,1 (กรกฎาคม-ธันวาคม), หน้า 168-235.
81 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ James Ockey, 2017, “Team Work: Shifting Patterns and Relationships in Local and
National Politics in Thailand”, Sojourn 32(3): 562-600.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด