Page 137 - kpiebook63001
P. 137
119
ลักษณะของการแบ่งหน้าที่การเป็นหัวคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
87
เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านต้องวางตัวเป็นกลาง แต่ภรรยาไปเป็นหัวคะแนนให้แก่ผู้สมัครพรรคหนึ่ง โดยที่
สมาชิกในครอบครัวคนอื่นก็ไปเป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัครพรรคอื่นเช่นกัน เป็นต้น
88
ลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ภาพของการระดมหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปฟังการปราศรัย
ของพรรคการเมืองต่างๆ ที่จัดขึ้นในพื้นที่ โดยประชาชนที่ไปเข้าร่วมกิจกรรมมักจะเป็นกลุ่มเดียวกับ
การไปร่วมฟังปราศรัยของพรรคการเมืองอื่นๆ เช่นกัน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าการใช้หัวคะแนนที่ซ้อนทับกันของ
ผู้สมัครกับแกนนำในพื้นที่เกิดขึ้นไม่มาก เนื่องจากสังคมชนบทคนที่มีบทบาทนำมีจำนวนไม่มากและส่วนใหญ่
รู้จักกันทั้งหมด จึงทำได้ยาก รวมทั้งด้วยสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของครูและพระ ที่เคยเชื่อว่า
89
90
สามารถชี้นำหรือโน้มน้าวประชาชนในสังคมชนบทให้เลือกผู้สมัครคนใดได้แทบไม่ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน
แผนภาพที่ 4.9 แสดงรูปแบบตัวอย่างการสร้างเครือข่าย 3 ระดับของผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนของผู้สมัคร
จากแผนภาพที่ 4.9 เป็นภาพจำลองที่แสดงให้เห็นถึงการวางโครงสร้างหัวคะแนนของผู้สมัครตาม
โครงสร้างการปกครองในเขตเลือกตั้ง โดยเริ่มจากการเลือกบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในระดับอำเภอ จากนั้น
แกนนำระดับอำเภอจะไปหาบุคคลหรือเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นแกนนำในระดับตำบล จากนั้นแกนนำระดับ
ตำบลจะไปติดต่อหรือเลือกบุคคลให้มาเป็นแกนนำระดับหมู่บ้าน ทั้งนี้การจัดตั้งหัวคะแนนในรูปแบบนี้
อาจพึ่งพิงหรือไม่พึ่งพิงกลไกทางการปกครองเช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ได้ ในหลายพื้นที่ผู้สมัครเลือกแกนนำระดับ
ต่างๆ จากผู้นำชุมชนหรือผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นในชุมชนที่ไม่มีตำแหน่งทางราชการหรือทางการเมือง ซึ่งแกนนำ
87 ดูการอธิบายถึงการคัดเลือกบุคคลให้มาทำหน้าที่หัวคะแนนและการทำงานของหัวคะแนนในอดีต ได้ใน William A.
Callahan and Duncan McCargo, (1996), “Vote-Buying in Thailand’s Northeast: The July 1995 General Election”,
Asian Survey, 36 (4): 376-392.
88 สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (2 มิถุนายน 2562).
89 โกวิท อ่อนประทุม, สัมภาษณ์.
90 สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (2 มิถุนายน 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด