Page 138 - kpiebook63001
P. 138
120
เหล่านี้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร ตลอดจนบริหารจัดการและอำนวย
ความสะดวกให้แก่ผู้สมัครในการลงพื้นที่พบปะประชาชน รวมถึงการประชาสัมพันธ์และระดมคนไปฟังปราศรัย
ในเวทีระดับต่างๆ เป็นต้น
รูปแบบของการจัดโครงสร้างหัวคะแนนหรือผู้ประสานงานในพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่ง คือ การใช้ระบบ
ตัวแทนหมู่บ้านที่ทำงานร่วมกับผู้สมัครโดยตรง ทั้งนี้จะมีทีมงานหรือผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้สมัคร
กับตัวแทนของผู้สมัครในระดับหมู่บ้าน ซึ่งการจัดโครงสร้างในลักษณะนี้มักใช้กับผู้สมัครที่ไม่เน้นการพึ่งพิง
กลไกของรัฐเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการดำเนินการ แต่เน้นการสร้างเครือข่ายของตนเอง โดยบทบาทของ
แกนนำในเครือข่ายเหล่านี้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับโครงสร้างหัวคะแนนในรูปแบบข้างต้น ทั้งนี้ด้วยความนิยม
ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเครือข่ายหัวคะแนนเหล่านี้มักใช้ Line ในการสื่อสารระหว่างกันรวมไปถึง
การจัดทำรายชื่อสมาชิกในกลุ่มเพื่อขยายฐานผู้สนับสนุน เป็นต้น
แผนภาพที่ 4.10 แสดงรูปแบบตัวอย่างการสร้างเครือข่าย 2 ระดับ
ของผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนของผู้สมัคร
การใช้เงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ถูกกำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย
ในการเลือกตั้งได้ไม่เกินคนละ 1,500,000 บาทต่อคน ซึ่งระยะเวลาในการคำนวณค่าใช้จ่ายให้นับแต่วันที่
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ถึงวันเลือกตั้ง หรือตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2562 ถึงวันที่
24 มีนาคม 2562 ซึ่งจำนวนเงินที่ถูกจำกัดให้ใช้ในการหาเสียงอัตรานี้ ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อวันที่
91
6 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เมื่อพิจารณาจากประกาศ สนง.กกต.จังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง ผลการตรวจสอบ
รายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ตามที่ผู้สมัครต้องยื่นแบบ ส.ส./บช 9 ของผู้สมัคร
จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่นำมาเป็นตัวอย่างดังตารางที่ 4.7 เห็นได้ว่ามีความแตกต่างของเงินที่ได้รับ
91 “เลือกตั้ง 62: คุมเข้มการใช้จ่ายพรรคการเมือง ใช้เงินได้น้อยลง กฎระเบียบหยุมหยิม เสี่ยงติดคุก”, สืบค้นจาก https://
www.ilaw.or.th/node/5156 (16 กุมภาพันธ์ 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด