Page 135 - kpiebook63001
P. 135

117






               การรัฐประหาร แต่ระบบพรรคพวก  ซึ่งเป็นแบบแผนเดิมยังคงดำรงอยู่และถือเป็นแบบแผนความสัมพันธ์หลัก
                                            82
               ในท้องถิ่นถูกนำมาใช้ในการทำงานเพื่อการระดมคะแนนเสียงที่เกิดขึ้นระหว่างพรรคการเมือง ผู้สมัครและ
               ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                      แม้ภายใต้บริบททางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นกลไกเชื่อมโยงผู้สมัคร

               พรรคการเมืองและผู้ลงคะแนนเลือกตั้งได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ข้อจำกัดในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือในสังคมชนบท
               ที่ผู้สมัครไม่สามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้หัวคะแนนจึงเป็น

               เครื่องมือและช่องทางสำคัญที่ยังคงมีการใช้อยู่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งโดยภาพรวมพบว่า ผู้สมัครโดยเฉพาะ
               อย่างยิ่งผู้ที่เคยได้รับการเลือกตั้งและผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ การใช้กลไกหัวคะแนน
               ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมามีลักษณะที่เปลี่ยนไปพบว่า ผู้สมัครจากพรรคการเมืองต่างๆ
               โดยเฉพาะพรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้ให้ความสำคัญและยกระดับการทำงานผ่านกลไกเหล่านี้

               ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในแต่ละพื้นที่มีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกันไป ด้วยระยะเวลา
               ที่ไม่ได้มีการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ในบางพื้นที่ต้องสร้างหัวคะแนนขึ้นมาใหม่ร่วมกับการทำงาน
               กับหัวคะแนนเดิม


                     ทั้งนี้ สภาพสังคมและความแตกต่างของกลุ่มประชากรในแต่ละพื้นที่ มีผลอย่างยิ่งต่อการมีบทบาทของ
               หัวคะแนนหรือการจัดรูปแบบกลไกการสนับสนุนเพื่อการหาเสียงของผู้สมัคร ตัวอย่างเช่น เขตเลือกตั้งที่ 1
               ซึ่งประกอบไปด้วยเขตเมือง เขตรอบนอกเทศบาล และพื้นที่ชายขอบของเขตอำเภอเมือง ดังแผนภาพที่ 4.8

               โดยศูนย์กลางของพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลซึ่งบทบาทนำในพื้นที่จะอยู่ในกลุ่มของคนจีน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบ
               การ รวมทั้งผู้อยู่อาศัยในเขตเมือง ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงและกลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น ซึ่งนำโดย
               นายบรรจง  โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดซึ่งได้รับการเลือกตั้งและมีคะแนนนิยมในพื้นที่

               มายาวนานกว่า 30 ปี  เป็นผลให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองอื่นๆ นอกเหนือจากนายอนุรักษ์ และ
                                  83
               เครือข่ายจึงเข้ามาสร้างคะแนนนิยมและสอดแทรกเครือข่ายการเมืองในพื้นที่นี้เป็นไปได้ยาก

                      แผนภาพที่ 4.8 แสดงภาพจำลองกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด






















               
     82   ดูรายละเอียดได้ใน Michael H. Nelson, (2005), “Analyzing Provincial Political Structures in Thailand:  phuak
               ,trakun,and hua khanaen” SEARC Working Paper Series, No. 79 , (Hong Kong: Southeast Asia Research Centre,
               City Univer-sity of Hong Kong).
               
     83   ดูรายละเอียดใน วัชรินทร์ เขจรวงศ์,”เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดกลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่นกับกลุ่มอาสาร่วมตรวจสอบ”, สืบค้นจาก
               https://www.gotoknow. org/posts/168872 (20 กุมภาพันธ์ 2562).




                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140