Page 139 - kpiebook63001
P. 139
121
การสนับสนุน และศักยภาพของผู้สมัครในการหาทุนในการหาเสียงของตนเอง อีกทั้งมูลค่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดกับ
คะแนนที่ได้รับไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีการใช้เงินอีกส่วนหนึ่งที่อยู่
นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถูกนำมาใช้ตั้งแต่ยังมีไม่การประกาศกำหนดวันเลือกตั้งหรือก่อนช่วงเวลา
ที่จะมีกฎหมายควบคุม ดังเห็นได้จาก ในบางพื้นที่เมื่อเริ่มมีกระแสข่าวของการเลือกตั้ง ผู้สมัครบางคนก็จะไป
ร่วมงานต่างๆ ซึ่งการให้เงินช่วยงานถือเป็นทั้งธรรมเนียมปฏิบัติและกลยุทธ์ทางการเมือง ส่วนการแจกเสื้อ
หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีรูปและชื่อของผู้สมัครไม่มีพบเห็นในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากอาจนำไป
สู่ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ดี การสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนและการสร้าง
92
กิจกรรมทางการเมืองก่อนช่วงเวลาของการเลือกตั้งยังคงมีอยู่ เช่น การจัดไปดูงาน การจัดอบรม ซึ่งเป็น
ข้อได้เปรียบของผู้สมัครที่มีเครือข่ายทางการเมืองระดับท้องถิ่นในพื้นที่ เนื่องจากแม้ในช่วงเวลาของ
การรัฐประหารจะไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการทำกิจกรรมในนามพรรคการเมืองจะเกิดขึ้นได้ยาก
แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโครงสร้างการปกครองท้องที่ หรือ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงอยู่
กล่าวได้ว่า การจ่ายเงินของผู้สมัครซึ่งในบางครั้งถูกให้ความหมายว่าเป็นสินน้ำใจหรือเป็นการใช้เงิน
ในเชิงวัฒนธรรม ที่ไม่สามารถคาดหวังได้ว่าผลคะแนนจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ โดยในช่วงเวลาที่
93
ยังไม่มีการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือนักการเมืองระดับท้องถิ่น ถูกคาดหวัง
อย่างมากต่อการให้บริการและช่วยเหลือประชาชนแม้จะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ก็ตาม เช่น การให้
ความช่วยเหลือในการจัดรถรับ-ส่งผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อนำส่งโรงพยาบาลในอำเภอหรือจังหวัด การให้บริการ
รถรับศพ การสนับสนุนน้ำแข็งหรือน้ำดื่มในการจัดงานประเพณีหรืองานบุญต่างๆ ในพื้นที่ ไปจนถึงการแสดง
น้ำใจในรูปแบบของเงินช่วยงาน เป็นต้น
92 สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (16 เมษายน 2562)
93 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ศุทธิกานต์ มีจั่น, 2556, “พฤติกรรมการเลือกตั้งและทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อเสียงของเขตจังหวัด
ภาคอีสาน : กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม”, วารสารสถาบันพระปกเกล้า 11, 3 หน้า 110-128.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด