Page 143 - kpiebook63001
P. 143

125






               สื่อมวลชนในจังหวัดไม่ได้แสดงบทบาทในการตรวจสอบการกระทำผิดหรือให้ความสำคัญกับกระบวนการ

               นับคะแนน  ภาพรวมของการเลือกตั้งที่ผ่านมาจึงกลายเป็นหน้าที่ของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่ต้อง
               สร้างกลไกในการจับตาการเลือกตั้งของตนเอง  ซึ่งผู้สมัครบางคนให้ความเห็นว่าเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้ไม่มี

               เรื่องร้องเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ดมากนัก เนื่องจากผู้สมัครในแต่ละพรรคมักจะรู้จักกันและวัฒนธรรมในพื้นที่มองว่า
               การร้องเรียนนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งอาจส่งผลต่อทัศนคติที่ประชาชนในพื้นที่มีต่อผู้สมัครที่ดำเนินการร้องเรียน
               นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ไปถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการสืบสวนกรณีกระทำผิดต่างๆ ของ กกต.จังหวัดด้วย

               ในขณะที่การลงพื้นที่และจัดเวทีปราศรัยย่อยในที่ต่างๆ ของผู้สมัครโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพรรคการเมือง
               ที่มีความโดดเด่นจะให้ความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากมักมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้ามาร่วมฟัง

               การปราศรัยหรือบางครั้งมีผู้มาบันทึกภาพหรือบันทึกเสียงการปราศรัยที่อาจนำไปสู่การร้องเรียนได้ รวมไปถึง
               การถูกจับตาความเคลื่อนไหวในช่วงคืนก่อนวันลงคะแนน เป็นต้น


                     ในส่วนของการสังเกตการณ์การนับคะแนนเสียง พบว่า มีเพียงบางพรรคเท่านั้นที่ส่งตัวแทน
               ไปสังเกตการณ์ในทุกหน่วยเลือกตั้งภายในพื้นที่เขตเลือกตั้งของตน  ในขณะที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้มี
               การแต่งตั้งผู้สังเกตการณ์เนื่องจากต้องทำหนังสือแต่งตั้งแจ้งให้กับสำนักงาน กกต.จังหวัด และมีข้อจำกัดด้าน

               งบประมาณที่ต้องนำไปจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งบางพรรคการเมืองเช่น พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้ส่งตัวแทนไปนั่ง
               สังเกตการณ์ในเขตเลือกตั้งที่ 2 แต่มีประชาชนที่มีความนิยมต่อพรรคไปสังเกตการณ์ที่หน่วยเลือกตั้งโดยไม่ได้มี

                         97
               ค่าตอบแทน  เป็นต้น  อย่างไรก็ดี บทบาทขององค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้งไม่มีความโดดเด่นเท่าที่ควร โดย
               องค์กรเอกชนที่เข้ามาเก็บข้อมูลและร่วมสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวในการเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด เช่น
               เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์เลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch) และขบวนการประชาชนเพื่อสังคม

               ที่เป็นธรรม (P-Move) ซึ่งมีกลุ่มเหล่านี้อาสาสมัครในการสำรวจข้อมูลอย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน รวมทั้ง
               มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (PNET) โดยทำงานร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

               (iLaw) ในการเผยแพร่ข่าวสารและความเคลื่อนไหวที่ได้รับแจ้งจากอาสาสมัคร โดยในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง
               การทำงานของอาสาสมัครในพื้นที่ไม่ถูกแทรกแซงแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ได้แสดงตนในการสังเกตการณ์
               ในพื้นที่ ทำให้ไม่ถูกจับตามอง ลักษณะที่พบก็คือ หัวคะแนนไปนำเงินไปแจกตามบ้าน ซึ่งเป็นการจ่ายเงิน

               ก่อนการลงคะแนน แต่ด้วยเงื่อนไขของความปลอดภัยทำให้อาสาสมัครไม่สามารถเก็บหลักฐานได้

                     นอกจากนี้แล้ว อาสาสมัครได้แสดงความเห็นว่าการทำงานสังเกตการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะยัง
               สามารถขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้แต่สัมผัสได้ถึงความระแวงที่มีต่ออาสาสมัคร  ซึ่งในการ
                                                                                                98
               เลือกตั้งครั้งนี้มีเพียงเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรีหรือมูลนิธิอันเฟรล (Asian Network for Free
               Elections: ANFREL) เพียงองค์กรเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปสังเกตการณ์เลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง

               ในขณะที่องค์กรอื่นไม่ได้รับอนุญาตแต่อย่างใด 99


               
     97   จำรัส สรสาร, อ้างแล้ว.
                     98   ชฎาพร คำศรียา, อ้างแล้ว.
                     99   “ตัวแทนของ อันเฟรล ร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้ง 62 ในไทย”, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/
               1527510 (24  มีนาคม 2562) และ “เกิดอะไรขึ้น? เลือกตั้งประเทศไทย 2562”, สืบค้นจาก https://wewatchthailand.org/data/
               2019/08/2388  (5 สิงหาคม 2562).






                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148