Page 146 - kpiebook63001
P. 146

128






               5.1 บรรยากาศและความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเลือกตั้ง





                     บรรยากาศและความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562

               เป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากบรรยากาศและบริบททางการเมืองภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557
               ทั้งในด้านการตื่นตัวของประชาชนต่อประเด็นทางการเมืองที่นิยมนำเสนอผ่านพื้นที่การแสดงออกต่างๆ และ
               การปรับตัวของพรรคการเมือง นักการเมืองและกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆ ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขใน

               การแสดงทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ภายหลังการประกาศให้มีการเลือกตั้งความเคลื่อนไหว
               ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถูกขับเคลื่อนโดยตัวแสดงหลัก 3 ส่วน ได้แก่ รัฐบาลและคณะกรรมการการเลือกตั้ง

               พรรคการเมืองและนักการเมือง ตลอดจนสื่อมวลชนกระแสหลักและพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาชนสามารถ
               ทำหน้าที่สื่อในการนำเสนอข่าวและกำหนดวาระข้อถกเถียงของตนเองได้อย่างกว้างขวาง

                     ความเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมและหาเสียงของผู้สมัครนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงที่ยังไม่อนุญาตให้มี

               การหาเสียงเลือกตั้งและยังไม่มีการประกาศรายชื่อผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ  นอกจากนี้แล้ว การจัดการ
               เลือกตั้งภายใต้กฎกติกาใหม่ที่มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร วิธีการในการหาเสียง

               วิธีการในการลงคะแนนและการนับคะแนน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงหรือลดจำนวนเขตเลือกตั้งในกรณีของ
               จังหวัดร้อยเอ็ด ตลอดจนลักษณะของการรวมตัวกันของเครือข่ายทางการเมืองระดับต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิด
               การปรับตัวของนักการเมืองในพื้นที่ทั้งในการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นของผู้สมัครที่เป็นอดีตสมาชิก

               สภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐได้รวบรวมผู้สมัครที่เป็นนักการเมือง
               คนสำคัญของจังหวัดและผู้สมัครหน้าใหม่ในการเลือกตั้งระดับชาติที่คาดว่ามีฐานเสียงของตนเองในพื้นที่

               รวมทั้งการลงสมัครรับเลือกตั้งของนักการเมืองคนสำคัญของจังหวัดอย่างนายอนุรักษ์ จุรีมาศ จากพรรค
               ชาติไทยพัฒนาและความนิยมที่ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของพรรคอนาคตใหม่ รวมไปถึงการเกิดขึ้นของ
               พรรคการเมืองอีกจำนวนมากที่มีความโดดเด่นบนพื้นที่ของสื่อและการตอบรับของประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัย

               ที่สำคัญประการหนึ่งในการกระตุ้นการรับรู้และความตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน

                     ลักษณะเช่นนี้ทำให้บรรยากาศการแข่งขันในการเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีความเข้มข้น และมีระดับ

               การแข่งขันที่แตกต่างกันไปตามจำนวนของผู้สมัครที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ ดังเห็นได้จากการได้รับความสนใจ
               จากแกนนำพรรคการเมืองต่างๆ ในการลงพื้นที่และจัดเวทีปราศรัยใหญ่หลายครั้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรม

               หาเสียงในรูปแบบต่างๆ ของผู้สมัครที่มีความเข้มข้นมากกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาในอดีต ด้วยปัจจัยจากจำนวน
               ผู้สมัครและพรรคการเมือง และผลคะแนนเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคนมีผลต่อคะแนนของพรรคในระบบบัญชี
               รายชื่อ จึงทำให้บรรยากาศทางการเมืองและการเลือกตั้งในจังหวัดได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวสูงมาก


                     ด้านบทบาทของหน่วยงานอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
               จังหวัดแล้ว กล่าวได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้กลไกฝ่ายปกครองและส่วนราชการต่างๆ ระดับจังหวัด ได้เข้ามา
               มีบทบาทอย่างมากในการอำนวยความสะดวก และสนับสนุนการเตรียมการจัดการการเลือกตั้ง ในขณะที่










                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151