Page 151 - kpiebook63001
P. 151

133






                     การประกาศตัวในครั้งนี้ไม่ใช่แค่การนำเสนอภาพของผู้สมัครที่เป็นเพียงผู้ที่มีสายสัมพันธ์หรือ

               ใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองใดเพื่อการหาเสียงดังที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งการให้ความสำคัญอย่างมากต่อ
               สนามแข่งขันการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและการให้การสนับสนุนผู้สมัครของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

               จังหวัดร้อยเอ็ดในสังกัดพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ เนื่องมาจากพรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง
               ในเขตเลือกตั้งส่วนใหญ่ของจังหวัดเสียโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้กลไกขององค์กร
               ปกครองท้องถิ่นมารองรับเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่  อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยง
                                                                      4
               ที่เข้มข้นระหว่างการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด

                     ด้านพรรคการเมืองอื่นๆ นั้น ด้วยข้อจำกัดของการเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองที่เกิด

               ขึ้นใหม่ซึ่งไม่มีฐานสมาชิกหรือทุนของพรรคในการดำเนินกิจการมากนัก มีแนวโน้มจะยุติบทบาททางการเมือง
               เช่นเดียวกับสมาชิกที่มีศักยภาพและคะแนนนิยมที่น่าสนใจจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาจะมีแนวโน้มของการย้าย

               สังกัดพรรคการเมืองเพื่อสร้างโอกาสในการได้รับเลือกตั้งในสนามการแข่งขันที่จะมีขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  เช่น การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู
               และพัฒนาเกษตรกร ในเดือนมิถุนายน 2562 และการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

               อันใกล้ 5

                     จากที่นำเสนอข้างต้น นำไปสู่การทดลองเสนอภาพจำลองการครองพื้นที่ในการเลือกตั้งของจังหวัด
               ร้อยเอ็ด ดังแผนภาพที่ 5.2 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรก คือ ก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2557

               พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในทุกเขตเลือกตั้ง ผนวกกับการเลือกตั้ง
               นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นยุคสมัยของอรอนงค์ ซ้ายโพธิ์กลาง และ

               ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ เรียกว่ายุคประชานิยมที่มีความเด่นชัดนับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา 6















               
      4   นิรมิต สุจารี, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคเพื่อไทย, สัมภาษณ์ (28 พฤษภาคม 2562).
               
      5   ตัวอย่างเช่น นางสินีนาฏ วารีรัตน์ ผู้สมัครเขต 3 พรรคทางเลือกใหม่ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการ
               กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มสมาพันธ์เกษตรโพนทอง  โดยได้คะแนน 3,657 คะแนน
               ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดร้อยเอ็ด ในขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา ได้คะแนน 371 คะแนน
               ทั้งนี้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น นางสินีนาฏได้ประกาศตัวลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               ร้อยเอ็ด เขต 2 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
               
      6   อรอนงค์ ซ้ายโพธิ์กลาง และศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ, 2558, นักการเมืองถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด, (กรุงเทพฯ : สถาบัน
               พระปกเกล้า), หน้า 110.









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156