Page 155 - kpiebook63001
P. 155

137






               การนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งอีกด้วย แม้จะยังไม่สามารถถูกคาดหวังว่าผลการเลือกตั้งจะนำไปสู่

               การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตย รวมไปถึงการพัฒนาพรรคการเมืองให้มี
               ความเข้มแข็งภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ทางรัฐธรรมนูญและสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันได้ก็ตาม


                     ในขณะที่การพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาพรรคการเมืองไทยภายใต้ความเป็นประชาธิปไตยที่ยัง
                      10
               ไม่ตั้งมั่น   ยังเป็นโจทย์สำคัญในการแสวงหาแนวทางเพื่อสร้างความเข็มแข็งหรือการเป็นสถาบันทางการเมือง
               ของพรรคการเมืองไทย นอกเหนือไปจากการมองนักการเมืองจากการเลือกตั้ง รวมทั้งข้อถกเถียงต่อคุณภาพ
                                                        11
               ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฐานะศูนย์กลางของปัญหา  เท่านั้น หากแต่ยังต้องให้ความสำคัญต่อข้อจำกัดที่เกิดจาก
               การออกแบบรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2560 รวมถึงการออกแบบสถาบันทางการเมืองในปัจจุบัน

               ที่นัยของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกตั้งคำถามอย่างมากต่อการส่งเสริมประชาธิปไตย




















































                     10   ดูรายละเอียดเพิ่มใน จิราภรณ์ ดำจันทร์, 2562, ประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน).
               
     11   ดูตัวอย่างคำอธิบายเรื่องมายาคติต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดและข้อถกเถียงต่อการซื้อเสียงได้ที่ ประจักษ์ ก้องกีรติ
               (บรรณาธิการ), 2555, การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง : วาทกรรม อำนาจและพลวัตชนบทไทย, (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน).









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160