Page 150 - kpiebook63001
P. 150
132
5.3 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กับการเลือกตั้งท้องถิ่นในอนาคต
กล่าวได้ว่า ผลของการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ส่งผลต่อบรรยากาศทางการเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และลักษณะ
ของการแข่งขันทางการเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ดในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ ภายหลังการรับรอง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ความเคลื่อนไหว
2
สำคัญในจังหวัดร้อยเอ็ด คือ การประกาศตัวลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ของ
นายเศกสิทธิ์ ไวยนิยมพงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ซึ่งการประกาศ
ตัวอย่างเป็นทางการในครั้งนี้มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ เป็นครั้งแรก
ที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้สมัครในฐานะที่เป็นตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งจากผู้นำพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองคนสำคัญในสังกัดพรรคเพื่อไทยทุกคนในจังหวัดร้อยเอ็ด
ดังภาพที่ 5.1
ภาพที่ 5.1 แสดงสื่อประชาสัมพันธ์การลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
ของนายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
2 รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ให้ข้อสังเกตว่า ชื่อของพรรคการเมืองมีความสำคัญในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อย่างชัดเจน นับตั้งแต่เมืองมีนาคม พ.ศ. 2547 ดังเห็นได้ว่า นอกจากนักการเมืองท้องถิ่นจะมีฐานเสียงหรือภาพลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
เลือกตั้งของตนเองแล้ว ยังต้องการชื่อเสียงหรือความนิยมที่ประชาชนมีต่อพรรคการเมืองที่มีความต้องการในตลาดการแข่งขันอีกด้วย
ดูรายละเอียดใน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2548, จาก Thaksinomics สู่ ทักษิณาธิปไตย ภาค 1 - 2, (กรุงเทพฯ : openbooks),
หน้า 124-125.
3 https://www.facebook.com/puanseksit/
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด