Page 147 - kpiebook63001
P. 147

129






               ความเคลื่อนไหวและบทบาทของทหารหรือกองกำลังรักษาความสงบในจังหวัดแม้จะได้รับการพูดถึงในเรื่องของ

               การเฝ้าระวังและติดตามการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่อาจนำมาสู่ความไม่สงบในพื้นที่ แต่ผลการเลือกตั้ง
               ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขเหล่านี้ไม่มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งมากนัก

               ในขณะที่กลุ่มการเมืองต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กลุ่มนักธุรกิจไม่ได้แสดงบทบาทต่อการสนับสนุนหรือต่อต้านผู้สมัคร
               หรือพรรคการเมืองพรรดใดพรรคหนึ่งอย่างชัดเจนนัก โดยกลุ่มเสื้อแดงที่เคยมีบทบาทอย่างมากในการเลือกตั้ง
               พ.ศ. 2554 ได้กระจายตัวออกไปในการสนับสนุนผู้สมัครทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่และบางส่วน

               ยังกระจายตัวไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ แม้แต่พรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคพลังประชารัฐ

                     ด้านการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง พบว่า ผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ ให้ความระมัดระวัง

               อย่างมาก แต่การซื้อเสียงและใช้เงินเพื่อจูงใจให้ประชาชนลงคะแนนให้ยังได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง
               แต่ไม่มีการเสนอข่าวหรือแสดงหลักฐานที่นำไปสู่ข้อร้องเรียนมากนัก รวมไปถึงการใช้กลไกหัวคะแนนและ

               เครือข่ายต่างๆ ในการช่วยระดมคะแนนเสียงและรวบรวมมวลชนในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของพรรค เช่น
               การร่วมฟังปราศรัย เป็นต้น ตลอดจนการทำลายป้ายหาเสียงของผู้สมัคร ยังเกิดขึ้นโดยทั่วไป



               5.2  พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้ง





                     แบบแผนและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               ร้อยเอ็ด มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ

               (1) การแข่งขันเชิงอุดมการณ์และนโยบาย

                     จากการที่จังหวัดร้อยเอ็ดเคยถูกกล่าวถึงในฐานะพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการซื้อเสียง  การเป็นพื้นที่นำร่อง

               ของนโยบายแก้ปัญหาความยากจน และการเป็นหนึ่งในพื้นที่ของขบวนการเสื้อแดงที่สำคัญของภาคตะวันออก
               เฉียงเหนือ กล่าวได้ว่า ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นได้ว่าประสบการณ์ทางการเมืองและการเรียนรู้ถึง

               การดำเนินนโยบายและผลที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา ได้ส่งผลถึงพัฒนาการของพฤติกรรม
               การเลือกตั้งของประชาชน จากการใช้เงินที่เคยประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากช่องว่างระหว่างผู้สมัคร
               กับประชาชนและการได้รับประโยชน์สาธารณะจากการผลักดันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า

               การดำเนินนโยบายของรัฐบาล มาสู่ยุคของการเติบโตของการเมืองที่มุ่งเน้นการแข่งขันเชิงนโยบายได้กลายเป็น
               วาระที่ประชาชนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลต่อการบ่มเพาะความนิยมของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีต่อ

               พรรคการเมือง

                     เมื่อพิจารณาถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน ปี พ.ศ. 2562 แม้ว่ายังมีการใช้กลไกหรือระบบ

               หัวคะแนนและการซื้อเสียงในลักษณะต่างๆ ยังคงมีอยู่ แต่ปัจจัยเหล่านี้กลับมีอิทธิพลน้อยลงอย่างมากต่อ
               การตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งเห็นได้ชัดอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550










                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152