Page 149 - kpiebook63001
P. 149

131






               ต้นทุนและข้อจำกัดในด้านต่างๆ  ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่เหล่านี้ยังถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการการ
                                          1
               เลือกตั้ง เชื่อมโยง ขยายและสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายในการบริหารจัดการการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
               ด้วย


                     จากลักษณะดังกล่าวได้ทำให้การสื่อสารเพื่อการหาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัครในปัจจุบัน
               สามารถส่งผ่านเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอไปถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฐานะผู้รับสารได้โดยตรง นอกเหนือไปจาก

               การหาเสียงแบบเดิมที่ต้องอาศัยตัวกลางหรือหัวคะแนนในการช่วยรณรงค์เพื่อให้ประชาชนรู้จักผู้สมัคร
               นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า ประสิทธิภาพในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและการใช้ช่องทางการสื่อสารที่
               หลากหลาย อาจไม่เพียงพอที่จะสร้างผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากข้อมูล

               เหล่านี้ยังต้องทำงานร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทั้งสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ความนิยมต่อการบริหารงานของรัฐบาล
               ในขณะนั้นไปจนถึงสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่การตัดสินใจลงคะแนนเลือกของผู้มีสิทธิ

               เลือกตั้ง ดังแผนภาพที่ 5.1

                 แผนภาพที่ 5.1 แสดงกระบวนการในการสร้างการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน













































               
      1   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Sanyarat Meesuwan, 2016, “The Effect of Internet Use on Political Participation:
               Could the Internet Increase Political Participation in Thailand? International Journal of Asia-Pacific Studies
               12(2):57-82.








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154