Page 153 - kpiebook63001
P. 153

135






               การสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ด้วยดีเสมอมา ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการแข่งขันเลือกตั้งระดับ

               การเมืองท้องถิ่นทั้งเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในพื้นที่
               อำเภอศรีสมเด็จจะยังคงเป็นเครือข่ายและกลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ

               เช่นเดียวกัน

                     ด้านพรรคพลังประชารัฐ กล่าวได้ว่า ด้วยลักษณะของการรวมกลุ่มผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ

               ในจังหวัดร้อยเอ็ดที่มาจากกลุ่มการเมืองภายในพรรคที่แตกต่างกันและไม่ปรากฏภาพของการทำงานร่วมกัน
               ที่เข้มข้นมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งผู้สมัครส่วนใหญ่ต่างมีฐานเสียง
               ในพื้นที่ของตนเอง ทำให้มีแนวโน้มว่ากลุ่มผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐจะให้การสนับสนุนหรือมีบทบาท

               ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเฉพาะในเขตเลือกตั้งที่เป็นฐานเสียงของตนเองมากกว่าการทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง
               กลุ่มการเมืองท้องถิ่นของพรรคในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้ลักษณะกลุ่มการเมืองท้องถิ่น

               ที่สนับสนุนโดยผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐมีลักษณะที่กระจายตัวแยกออกจากกันมากกว่ารวมตัวกัน
               ดังที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


               5.4 ข้อเสนอแนะต่อการจัดการการเลือกตั้ง

                      และข้อสังเกตต่อการพัฒนาพรรคการเมือง





                     แม้ว่าสถานการณ์โดยภาพรวมในการจัดการการเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ดจะดำเนินไปอย่างราบรื่น และ
               การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างเรียบร้อยและไม่ปรากฏข้อร้องเรียนที่กลายเป็น
               วาระสำคัญเช่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ก็ตาม แต่จากประเด็นปัญหาและข้อวิจารณ์ต่อกติกาใหม่และการจัดการ

               เลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังที่ได้นำเสนอในบทที่ 4  นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา
               การจัดการเลือกตั้งซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ ได้แก่


                     (1) ความหลากหลายของคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง เนื่องจากคณะกรรมการส่วนใหญ่มาจาก
               ข้าราชการฝ่ายปกครองส่วนภูมิภาค เช่น นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ซึ่งการมีบทบาทหลายอย่างของข้าราชการ
               เหล่านี้ในช่วงของการเลือกตั้ง อีกทั้งภายใต้บรรยากาศทางการเมืองที่มักตั้งคำถามต่อการวางตัวเป็นกลาง

               ของกลุ่มข้าราชการ ทำให้การสร้างความหลากหลายในเชิงของกลุ่มอาชีพหรือสังกัดของผู้ปฏิบัติงานในฐานะ
               คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้เข้าไปเป็นกรรมการ

               การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง จะเป็นโอกาสในการสร้างประสบการณ์ในการทำหน้าที่เพื่อนำไปใช้ในการ
               จัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้

                     (2) การสร้างกลไกตรวจสอบการกระทำผิดในเชิงรุก กล่าวได้ว่า ข้อจำกัดในการทำงานของสำนักงาน

               คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ส่วนหนึ่งได้รับการวิจารณ์ว่ามาจากความไม่ชัดเจนในเรื่องการกำหนด
               แนวปฏิบัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง ซึ่งมีผลต่อการกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรม









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158