Page 148 - kpiebook63001
P. 148

130






               โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า การตัดสินใจเลือกลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดนั้นเกี่ยวข้องกับ

               ความคิดความเชื่อที่อยู่บนฐานของการปะทะกันระหว่างวิวาทะว่าด้วยเรื่องของหยุดการสืบทอดอำนาจของ
               เผด็จการกับฝ่ายที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร  ในขณะเดียวกัน แม้ว่าการเกิดขึ้นของ

               พรรคพลังประชารัฐที่อิงกับนโยบายประชารัฐของรัฐบาลจะยังไม่สามารถก้าวไปสู่สร้างความเชื่อมั่นหรือ
               ความนิยมในฐานะพรรคการเมืองได้มากนัก แต่การแข่งขันเชิงนโยบายและประโยชน์ที่ได้จากการดำเนิน
               นโยบายต่างๆ ภายใต้รัฐบาลที่ผ่านมายังมีอิทธิพลอยู่มากต่อการตัดสินใจเลือกของประชาชน นั่นหมายความว่า

               การตัดสินใจเลือกลงคะแนนในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงออกถึงความนิยมที่มีต่อ
               พรรคการเมืองและผู้สมัครในเขตเลือกตั้งเท่านั้น หากแต่ยังถูกนำมาใช้ในการแสดงออกถึงอุดมการณ์ทาง

               การเมืองของประชาชนและความนิยมต่อรัฐบาลในขณะนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

               (2)  ความนิยมต่อพรรคการเมืองมีความลื่นไหล

                     เมื่อพิจารณาระดับความเข้มข้นในการแข่งขันของแต่ละเขตเลือกตั้งดังที่นำเสนอไว้ในบทที่ 3
               ประกอบกับผลการเลือกตั้งที่แม้ว่าพรรคเพื่อไทยและผู้สมัครกลุ่มเดิมยังคงได้รับการเลือกตั้ง แต่การกระจาย

               ของคะแนนไปยังพรรคการเมืองต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าความจงรักภักดีต่อพรรคเพื่อไทยซึ่งเคยเป็นพรรคโดดเด่น
               พรรคเดียวที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ดอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เป็นพรรคไทยรักไทยนั้นได้เริ่มคลายตัวลง

               จากระดับคะแนนที่ลดลงจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาเกือบทุกเขตเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันการเกิดขึ้นและ
               ความโดดเด่นของพรรคการเมืองใหม่ เช่น พรรคพลังประชารัฐที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และ
               พรรคอนาคตใหม่ที่ผู้สมัครไม่เคยมีประสบการณ์ในฐานะนักการเมืองระดับชาติหรือเคยเป็นอดีตสมาชิก

               สภาผู้แทนราษฎรมาก่อน ซึ่งกล่าวได้ว่า ความนิยมที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเฉพาะกลุ่มคนที่เคยสนับสนุน
               พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนรุ่นใหม่มีต่อพรรคอนาคตใหม่ที่ไม่ใช่เพียงพรรคการเมืองเท่านั้น แต่เป็นการแสดงออก

               การแสวงหาทางเลือกใหม่ของประชาชนที่แสดงให้เห็นว่าความนิยมหรือยึดติดกับพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม
               ด้วยอุดมการณ์หรือประโยชน์ที่เคยได้จากนโยบายได้คลายตัวลง รวมทั้งความนิยมของประชาชนที่มีต่อ
               พรรคการเมืองนั้นมีความลื่นไหลมากขึ้นตามบริบทหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ

               ส่งผลต่อการปรับตัวของพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่เดิมรวมถึงเป็นบทเรียนให้กับพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่
               อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


               (3)  อิทธิพลของเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่

                     นอกเหนือจากการใช้รูปแบบและวิธีการหาเสียงต่างๆ ที่เป็นรูปแบบดั้งเดิมแล้ว ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า
               อินเตอร์เนทและพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล
               และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองและผู้สมัคร

               อีกทั้งยังเป็นพื้นที่และเครื่องมือที่นำไปสู่การถกเถียงที่ขยายไปในวงกว้างและยากต่อการจำกัดการรับรู้
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่กระจายการใช้งานไปในประชาชน

               ทุกกลุ่มอายุ ตลอดจนยังเป็นโอกาสในการสร้างพื้นที่ในการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครที่เป็นการลด












                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153