Page 154 - kpiebook63001
P. 154

136






               การหาเสียงของผู้สมัครที่อาจนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเนื่องจากมีข้อห้ามที่บัญญัติใหม่หลาย

               ประการ  ทั้งนี้ นอกเหนือจากการแสวงหาความร่วมมือและอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้แก่องค์กรเอกชน
               ในการทำหน้าที่สังเกตการณ์การเลือกตั้งให้ดียิ่งขึ้นแล้ว กลไกของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ

               จังหวัดและผู้ตรวจการการเลือกตั้งควรปรับบทบาทในการทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำหรือเก็บหลักฐาน
               การกระทำผิดของผู้สมัครในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจากอำนาจหน้าที่ในการทำสำนวนฟ้องคดีกระทำ
               ผิดกฎหมายการเลือกตั้งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาของศาล


                     อย่างไรก็ดี ข้อเสนอต่อการพัฒนาการจัดการเลือกตั้ง อาจไม่สามารถมุ่งไปที่ประสิทธิภาพในการ
               ดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ปฎิบัติหน้าที่ในระดับจังหวัดและหน่วยเลือกตั้ง โดยละเลยถึง

               โครงสร้างหลักในการกำหนดแนวทางการเลือกตั้งอันเป็นผลจากการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ซึ่งกล่าวได้ว่า
               ผลจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการปฏิรูปควรดำเนินการต่อไปเพื่อแสวงหาวิธีการที่เปิดโอกาส

               ให้การตัดสินใจเลือกของประชาชนเป็นไปโดยเสรี และส่งเสริมให้สนามแข่งขันในการเลือกตั้งเป็นของผู้เล่น
               ทุกคนทั้งในรูปแบบพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่มีความเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ถูกแทรกแซงด้วยเงื่อนไข
               ทางการเมืองใดๆ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบและระบบงานยุติธรรมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและ

               ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล 8

                     ด้านการพัฒนาพรรคการเมือง กล่าวได้ว่า ด้วยเหตุผลทั้งจากการออกแบบรัฐธรรมนูญที่สร้างความเป็น
               ไปได้ให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงไม่มากนักมีโอกาสได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

               ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเปิดพื้นที่ของการแข่งขันเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งเป็นผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมากได้เข้าสู่
               การแข่งขันที่ส่งผลเชิงบวกต่อการแสดงให้เห็นถึงการรวมตัวที่มีความหลากหลายของกลุ่มการเมืองและประเด็น

               ข้อเสนอต่างๆ เชิงนโยบายที่มีอยู่ในสังคมการเมืองไทย นอกจากนี้แล้วภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองภายหลัง
               การเลือกตั้ง ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ยังไม่มีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ข้อถกเถียงและ
               ความไม่ชัดเจนเรื่องผลคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลงมติของ

               รัฐสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีและการจัดตั้งรัฐบาล ที่แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นไปในทิศทางใดก็ตาม
               แต่ด้วยโครงสร้างการปกครองที่ถูกกำหนดและออกแบบไว้ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา

               นำไปสู่การตอกย้ำถึงข้อสังเกตที่ประจักษ์ ก้องกีรติ และ วีรยุทธ์ กาญจน์ชูฉัตร ได้นำเสนอไว้ว่า “เสียงของ
               ผู้ลงคะแนนจะด้อยพลังอำนาจในการตัดสินชี้ขาดว่าใครจะได้เข้ามาบริหารประเทศ พรรคใดจะชนะเลือกตั้ง
               ก็ไม่สำคัญ เพราะรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของชนชั้นสูงกลุ่มน้อยที่ไม่ได้มาจาก

                                                                     9
               การเลือกตั้ง โดยมีกองทัพอยู่ตรงสุดยอดของโครงสร้างอำนาจ”  ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งที่มี
               ทัศนะว่าผลการเลือกตั้งมีความหมายมากกว่าการเลือกตัวแทน แต่คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับจะกลาย

               เป็นการแสดงสัญลักษณ์ทางความคิดความเชื่อทางการเมืองของประชาชนและการตอบรับต่อนโยบายที่ได้รับ


               
      8   Lilibeth Erlano and Kristina Uy Gadaingan (Editors), 2016, Electoral Challenges in Asia Today,
               Bangkok:The Asian Network for Free Elections (ANFREL), p.396.
               
      9   ประจักษ์ ก้องกีรติ และ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร, 2561,”ระบอบประยุทธ์ : การสร้างรัฐทหารและทุนนิยมแบบช่วงชั้น”,
               ฟ้าเดียวกัน 16, 2 หน้า 13.








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159