Page 39 - kpiebook62011
P. 39

35






               
     ๏ รัฐคืนสิทธิถือครองเมื่อไม่ได้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะแล้ว


               
     ๏  รัฐให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบก่อนการเวนคืน

               
     ๏  ค่าทดแทนสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนที่ดินนั้นๆ


               
     ๏  การจ่ายค่าทดแทนก่อนการเข้าใช้ที่ดิน และ

               
     ๏  ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสามารถอุทธรณ์ค่าทดแทนได้


                     ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์บางส่วน ได้แก่

               
     ๏  คำนิยาม “วัตถุประสงค์สาธารณะ” มีความชัดเจน


               
     ๏  ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทดแทน และ

               
     ๏  ค่าทดแทนสะท้อนการปรับปรุงที่ดินนั้นๆ


                     ขณะที่ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ประเทศอื่นๆ ผ่านเกณฑ์นั้น จะพิจารณาเฉพาะตัวชี้วัดที่มีประเทศอื่นๆ
               อย่างน้อย 1 ใน 3 (10 ประเทศจาก 30 ประเทศ) ผ่านเกณฑ์ ตัวชี้วัดเหล่านี้ ได้แก่


               
     ๏  ผู้ถือครองที่ดินตามจารีตที่มีสิทธิรับรองมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทดแทน

               
     ๏  การจ่ายค่าทดแทนโดยให้ทางเลือกเป็นที่ดินอื่น และ

               
     ๏  ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสามารถเจรจาต่อรองค่าทดแทนได้


                 1. ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์บางส่วน

                    (1) คำนิยาม “วัตถุประสงค์สาธารณะ” มีความชัดเจน

                        การกำหนดนิยาม “วัตถุประสงค์สาธารณะ” ที่มีความชัดเจน จะช่วยให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

                        ไม่เป็นไปอย่าง misuse or abuse ซึ่งอาจไม่ใช่ประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น
                        เอธิโอเปียมีการเวนคืนที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมจำนวน 1 แสนเฮกตาร์แก่บริษัทเอกชน โดยมี

                        วัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุน “โครงการพัฒนาที่ดีกว่า” (a better development project)
                        ตามที่ปรากฏในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของเอธิโอเปีย ในท้ายที่สุด บริษัทเอกชน
                        ผู้ดำเนินโครงการดังกล่าวกลับไม่สามารถสร้างงาน จัดหาน้ำสะอาด และสร้างสาธารณูปโภคได้ตามที่

                        สัญญาไว้ การกำหนดนิยามที่ไม่ชัดเจนเช่นนี้เป็นลักษณะของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน
                        อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้


                        กรณีกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของไทยนั้น แม้ว่าจะมีการระบุกรณีที่รัฐสามารถ
                        เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์











                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44