Page 37 - kpiebook62011
P. 37
33
หมายเหตุ:
* การถือครองที่ดินตามจารีต (customary land tenure) หมายถึง สิทธิในการถือครองที่ดิน การเข้าถึง การใช้ และ
ส่งการต่อที่ดินของชุมชนท้องถิ่น (local community) หรือชนพื้นเมืองดั้งเดิม (indigenous) ซึ่งมีอยู่ก่อนและแตกต่างไปจาก
การถือครองที่ดินตามกฎหมาย (statutory land tenure)
** สถาบันยุโรปเพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาวะ (European Institute for Gender Equality: EIGE) สรุปความหมายของ
“ความอ่อนไหวทางเพศสภาวะ” (gender sensitivity) ว่าเป็นจุดมุ่งหมายในการทำความเข้าใจและยอมรับปัจจัยทางสังคมและ
วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการกีดกันและการเลือกปฏิบัติบนฐานเรื่องเพศ ทั้งในชีวิตสาธารณะและส่วนตัว โดยมุ่งเน้นไปที่ความเสียเปรียบ
เชิงโครงสร้างที่มีต่อสถานะและบทบาทของเพศหญิง
จากผลการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่
ยังไม่สอดคล้องกับข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจฯ ทั้งนี้ ในกรณีของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน
อสังหาริมทรัพย์ของไทยนั้น ตัวชี้วัดที่ไทย “ผ่านเกณฑ์” มีทั้งสิ้น 5 ตัวชี้วัด “ผ่านเกณฑ์บางส่วน” 3 ตัวชี้วัด
และ “ไม่ผ่านเกณฑ์” 16 ตัวชี้วัด (โปรดดูตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 สรุปผลการจัดทำโดยสถาบันทรัพยากรโลก
จำนวนประเทศ
ตัวชี้วัด ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ข้อบทในกฎหมาย
ของไทย
เกณฑ์ เกณฑ์ เกณฑ์
บางส่วน
๏ คำนิยาม “วัตถุประสงค์สาธารณะ” มีความชัดเจน 4 10 16 ผ่านเกณฑ์บางส่วน
๏ รัฐเวนคืนที่ดินน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น 3 0 27 ไม่ผ่านเกณฑ์
๏ พื้นที่ที่มีความสำคัญเชิงวัฒนธรรม ศาสนา และสิ่งแวดล้อม
3 4 23 ไม่ผ่านเกณฑ์
ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ
๏ ที่ดินของกลุ่มคนยากจนและเปราะบางได้รับการปกป้องเป็น 3 3 24 ไม่ผ่านเกณฑ์
พิเศษ
๏ รัฐคืนสิทธิถือครองเมื่อไม่ได้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะแล้ว 7 6 17 ผ่านเกณฑ์
๏ รัฐระบุประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดก่อนการเวนคืน 3 3 24 ไม่ผ่านเกณฑ์
๏ รัฐให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบก่อน
13 1 16 ผ่านเกณฑ์
การเวนคืน
๏ รัฐมีการปรึกษาหารือกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบก่อน
8 4 18 ไม่ผ่านเกณฑ์
การเวนคืน
๏ ผู้ถือครองที่ดินตามจารีตที่มีสิทธิรับรองมีสิทธิ์ที่จะได้รับ
18 4 8 ไม่ผ่านเกณฑ์
ค่าทดแทน
๏ ผู้ถือครองที่ดินตามจารีตที่ไม่มีสิทธิรับรองมีสิทธิ์ที่จะได้รับ
6 3 21 ไม่ผ่านเกณฑ์
ค่าทดแทน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530