Page 34 - kpiebook62011
P. 34

30






                     ข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจว่าด้วยการจัดการการถือครองที่ดิน การประมงและป่าไม้

               ในบริบทของความมั่นคงทางอาหารในระดับชาติ (Voluntary Guidelines on the Responsible
               Governance of Tenure in the Context of National Food Security) เป็นหลักการสากลที่ใช้พิจารณา

               กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รายงานฉบับนี้จะเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน
               อสังหาริมทรัพย์ของไทยกับแนวทางดังกล่าว โดยอ้างอิงผลการศึกษาที่สถาบันทรัพยากรโลก (World
               Resources Institute: WRI) จัดทำร่วมกันกับมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน (University of Groningen)

               เนเธอร์แลนด์

                     เนื้อหาในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ส่วนแรก จะกล่าวถึงข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความ

               สมัครใจฯ ส่วนที่สอง จะอภิปรายผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันทรัพยากรโลก และส่วนสุดท้าย จะสรุป
               ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายเวนคืนของไทย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ต่อไป


               4.1 ข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจ


                     ในปี ค.ศ. 2012 คณะกรรมาธิการว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารโลกแห่งสหประชาติ (UN Committee

               on World Food Security) มีมติรับรองคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจว่าด้วยการจัดการการถือครองที่ดิน
               การประมงและป่าไม้ในบริบทของความมั่นคงทางอาหารในระดับชาติ  ในข้อ 16 ของคู่มือดังกล่าวระบุหลักการ
               เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และค่าทดแทนไว้ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


                               กรอบที่ 1 สาระสำคัญของข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจฯ



               ข้อ 16.1  “รัฐควรที่จะเวนคืนสิทธิในที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยรัฐควรที่จะกำหนดแนวคิดว่าด้วย
                        ประโยชน์สาธารณะให้ชัดเจนลงในกฎหมายเพื่อให้เกิดความชอบด้วยกฎหมายในการเวนคืน”


                        “(รัฐควรที่จะเวนคืนเฉพาะ) ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น”

                        “(รัฐ) ควรที่จะเคารพสิทธิของผู้ถือโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชาย
                        ขอบ โดยให้ค่าชดเชยตามกฎหมายในประเทศ”


               ข้อ 16.2  “รัฐควรที่จะระมัดระวังในกรณีที่การเวนคืนนั้นอยู่ในพื้นที่ทางวัฒนธรรม ศาสนาหรือสิ่งแวดล้อม
                        อย่างมีนัยสำคัญ หรือในที่ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของคนและกลุ่มเปราะบาง”


                        “รัฐควรที่จะรับรองให้การวางแผนและกระบวนการเวนคืนมีความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม มีการ
                        ระบุผู้ที่ได้รับผลกระทบ และดำเนินการแจ้งให้ทราบตลอดจนการปรึกษาหารือในทุกๆ ขั้นตอนอย่าง

                        เหมาะสม”













                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39