Page 29 - kpiebook62011
P. 29

25






               ผู้ครอบครองแล้ว (มาตรา 11) จะเห็นได้ว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในระบบกฎหมายไทยจะเปิดโอกาสให้

               รัฐกับเอกชนได้เจรจาต่อรองซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันก่อน หากผลการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ จึงจะมี
               การใช้อำนาจบังคับเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นมาเป็นของรัฐ ถ้าหากสามารถตกลงกันได้จะทำสัญญาซื้อขายกัน

               ดังเช่นกรณีปกติ แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะออกมาบังคับเวนคืนต่อไป

                     สำหรับการกำหนดค่าทดแทน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนฯ ได้กำหนดผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน

               ไว้ในมาตรา 16 วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา 18 มีดังต่อไปนี้

                    (1) เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน

                    (2) เจ้าของโรงเรือนหรือหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นในวัน

                        ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลัง โดยได้รับอบุญาตจาก
                        เจ้าหน้าที่


                    (3) ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในที่ดินที่ต้องเวนคืน แต่การเช่านั้นต้องมีหลักฐาน
                        เป็นหนังสือ ซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือได้ทำขึ้นภายหลัง

                        โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่และการเช่านั้นยังมิไดระงับไปในวันที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งไต้รับ
                        มอบหมายจากเจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครองที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่เงินค่าทดแทน
                        ในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือ

                        สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก่อนสัญญาเช่าระงับ

                    (4) เจ้าของต้นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดินในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6


                    (5) เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นในวันใช้บังคับ
                        พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แต่ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งเจ้าต้องรื้อถอน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง
                        ดังกล่าวไปเมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าของที่ดิน (เงินค่าทดแทนในกรณีนี้พึงกำหนดให้เฉพาะค่ารื้อถอน

                        ค่าขนย้าย และค่าปลูกสร้างใหม่เท่านั้น)

                    (6) บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายคลึงกันผ่านที่ดิน

                        ที่ต้องเวนคืนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 หรือมาตรา 1352 ในกรณีที่
                        บุคคลเช่นว่านั้นได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้สิทธิดังกล่าวให้แก่เจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืนแล้ว

                    (7) ผู้รับจำนอง ผู้ทรงบุริมสิทธิ หรือผู้รับประโยชน์จากทรัพย์สินเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน


                    (8) ผู้รับโอนสิทธิในทรัพย์สินภายหลังวันใช้บังคับพระราชบัญญัดิเวนคืนอสังหาริมทรัพย์


                     ในการกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดนั้น มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย
               การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้แบ่งประเภทอสังหาริมทรัพย์ได้เป็น 3 ประเภท คือ
               (1)  อสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ซึ่งการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนจะเป็นไป ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง










                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34